> SET >

24 เมษายน 2024 เวลา 15:41 น.

คลังไม่ห่วงความเสี่ยงการคลังจาก”แจกเงินดิจิทัล” มองช่วยกระตุ้นจีดีพี 1.8%

#ทันหุ้น-คลังรับทราบข้อกังวลธปท.ยันแจกเงินดิจิทัลไม่กระทบความเสี่ยงการคลังและเครดิตเรตติ้ง โดยเม็ดเงินที่ลงไป 5 แสนล้าน จะกระตุ้นเศรษฐกิจภาพใหญ่ให้เกิดการผลิตและลงทุน หนุนจีดีพีขยายตัวเพิ่ม 1.2-1.8% ในระยะ 2 ปีแรก แถมหนี้สาธารณะจะลดลง 


นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล โดยกล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงการคลังได้รับทราบถึงข้อกังวลของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทแก่ประชาชน โดยธปท.เองก็ได้เสนอความเห็นในคณะกรรมการดิจิทัลหลายครั้ง ซึ่งเราก็รับฟัง แต่การเดินหน้านโยบายนี้ ก็เป็นความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องทำหนังสือชี้แจงกลับไปที่ธปท.อีก


“เรามีการคุยกับแบงก์ชาติต่อเนื่อง ซึ่งแบงก์ชาติก็อยู่ในคณะกรรมการดิจิทัล ก็ได้พูดความเห็นหลายครั้ง และที่ประชุมก็รับทราบ แต่ก็มีสิ่งที่เราเห็นไม่ตรงกัน เรารับฟังและนำมาปรับ เช่น เรื่องที่แนะนำให้แจกกลุ่มเปราะบาง เราตัดคนออกไปกว่า 30 ล้านคน เราก็ยอมตัดบางส่วนแล้ว แต่จะให้ตัดเหลือแค่กลุ่มเปราะบาง 15 ล้านคน เราคิดว่า ยังไม่ตอบโจทย์ ดังนั้น ทางคณะกรรมการก็มีการ

ตัดสินใจในรูปแบบที่เหมาะสม”นายเผ่าภูมิ กล่าว 


ทั้งนี้ กรณีข้อเสนอธปท.ที่ให้แจกเฉพาะเรื่องกลุ่มเปราะบางนั้น ประเด็นดังกล่าวมีการหารือและถกเถียงกันพอสมควร และขอยืนยันว่า โครงการนี้ ไม่ใช่การเยียวยา ถ้าเยียวยาก็จะดูเฉพาะกลุ่มเปราะบางเท่านั้น แต่อันนี้ จุดประสงค์ของรัฐบาล คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น เม็ดเงินต้องใหญ่พอ คนที่เข้าร่วมต้องใหญ่พอ เพื่อให้เม็ดเงินกระจาย ดังนั้น ถือว่า เป็นคนละโจทย์


“เวลาเราทำโครงการเราก็ต้องดูว่า วัตถุประสงค์คืออะไร ก็ต้องทำโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้วย”


นอกจากนี้ โครงการดังกล่าว ไม่ได้มองเพียงแค่กระตุ้นการบริโภคอย่างเดียว แต่ได้มองเรื่องการลงทุนด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่า การลงทุนของประเทศมีปัญหา ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมติดลบมา 16 เดือนติด ถ้าเพิ่มมาอีก 1 เดือน จะถือว่า ติดลบนานมากสุดเป็นประวัติศาสตร์ ผลผลิตคงค้างก็อยู่ระดับต่ำกว่า 50% ส่งผลให้การผลิตมีปัญหา เนื่องจาก กำลังซื้อที่เห็นอยู่ไม่ได้สะท้อนการบริโภคจริง ดังนั้น จะบอกว่า กำลังซื้อแข็งแรงไม่ได้ หากกำลังซื้อแข็งแรงต้องตามมาด้วยกำลังการผลิตที่แข็งแรง ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ก็จะยอมรับ


“ถ้าการบริโภคดีจริง ก็สะท้อนไปที่การลงทุน แต่ตอนนี้ เรายังไม่เห็น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ชะลอตัวด้วย ส่วนการผลิตอุตสาหกรรมนั้น เราไม่เคยติดลบนานขนาดนี้ ถ้าติดลบอีก 1 เดือน จะถือว่า นานที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศไทย ดังนั้น เรื่องนี้ แบงก์ชาติมองสั้นไปหรือเปล่าว่า โครงการนี้จะไม่กระตุ้นการลงทุน ซึ่งโครงการนี้ เป็นจุดแรกที่เราจะกระตุกเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น และรัฐบาลก็มีมาตรการอื่นเข้าไปช่วยเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่อ”นายเผ่าภูมิ กล่าว


ส่วนที่ธปท.มองว่า จะทำให้เกิดความเสี่ยงทางการคลังนั้น โดยระบุถึงจีดีพีที่จะเพิ่มขึ้น เมื่อใส่เม็ดเงินเข้าไป ยกตัวอย่าง เป็นการกู้ยืม หนี้สาธารณะก็เพิ่ม แต่เราต้องดูจีดีพีที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นตัวหารหนี้สาธารณะให้ลดลง ส่วนข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อเรตติ้งนั้น ทางผู้จัดอันดับ ก็ไม่ได้ดูเฉพาะการก่อหนี้ แต่ดูรายละเอียดโครงการด้วยว่า เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ 


ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่า โครงการนี้ จะกระตุ้นจีดีพีให้เพิ่มขึ้นราว 1.2-1.8% ในระยะเวลา 1-2 ปีแรก ซึ่งต้องบอกว่า โครงการนี้ เป็นโครงการที่มีเงื่อนไขใหม่ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่เคยทำมาก่อน การใช้ตัวประมาณการอาจไม่สามารถอ้างอิงได้มาก โดยรัฐบาลมีการคาดการณ์โดยกระทรวงการคลัง ซึ่งก็มีตัวเลขใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่ข้อมูลที่มี 


" เรากำลังพูดถึงจีดีพีที่จะเพิ่มขึ้น เมื่อเราใส่เม็ดเงินเข้าไป ยกตัวอย่าง เป็นการกู้ยืม หนี้สาธารณะก็เพิ่ม แต่เราต้องดูจีดีพีที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะเป็นตัวหารหนี้สาธารณะให้ลดลง ส่วนข้อกังวลเรื่องผลกระทบต่อเรตติ้งนั้น ทางผู้จัดอันดับ ก็ไม่ได้ดูเฉพาะการก่อหนี้ แต่ดูรายละเอียดโครงการด้วยว่า เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ "


**กระตุ้นจีดีพีราว 1.2-1.8% 


ทั้งนี้ รัฐบาลประเมินว่า โครงการนี้ จะกระตุ้นจีดีพีให้เพิ่มขึ้นราว 1.2-1.8% ในระยะเวลา 1-2 ปีแรก ซึ่งต้องบอกว่า โครงการนี้ เป็นโครงการที่มีเงื่อนไขใหม่ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เรามไม่เคยทำมาก่อน การใช้ตัวประมาณการอาจไม่สามารถอ้างอิงได้มาก โดยเรามีการคาดการณ์โดยกระทรวงการคลัง ซึ่งก็มีตัวเลขใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่ข้อมูลที่มี 


โดยเชื่อมั่นว่า โครงการนี้ จะทำให้ร้านค้าขนาดเล็กเข้าร่วมจำนวนมาก ส่วนข้อกังวลว่า เม็ดเงินจะเข้าเจ้าสัวผ่านร้านค้าขนาดเล็ก เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น แมคโดนัลด์ บิ๊กซี และ เคเอฟซี มองว่า คนที่มองเรื่องนี้ คิดไม่จบ เพราะร้านค้าเหล่านี้ ถือเป็นตัวกลางในการใช้จ่ายเงินโครงการ เพราะร้านค้าเหล่านี้ ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง แต่ต้องซื้อสินค้าจากเกษตรกรหรือแหล่งอื่นๆมาผลิต ฉะนั้น ร้านค้าเหล่านี้ ถือเป็นตัวกลางของโครงการเท่านั้น 


“กรณีที่กังวลว่า เงินจะไปที่เจ้าสัวนั้น คิดไม่จบ เพราะว่า ร้านสะดวกซื้อนั้น สิ่งที่เขาเอามาขาย ไม่ใช่เขาผลิตเองทุกอย่าง เขาเป็นแค่ตัวกลางในการซื้อของมาขาย เช่น การซื้ออาหารแช่แข็งมาขาย และอาหารแช่แข็ง เม็ดเงินก็ไม่ได้ลงแค่ร้านสะดวกซื้อแล้วจบ เขาต้องไปซื้อข้าวจากชาวนา ก็เกิดการผลิตเพิ่ม ฉะนั้น ต้องมองว่า ร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นแค่ตัวกลางในการผ่านเม็ดเงิน แค่สเกลหนึ่งในระบบ”นายเผ่าภูมิ กล่าว


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1


จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X