02 ธันวาคม 2019 เวลา 16:48 น.
สำนักข่าว “ทันหุ้น” รายงานว่า “PRINC” เปิดให้บริการโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ อย่างเป็นทางการพร้อมเป็นฮับของโรงพยาบาลในเครือข่ายทั่วประเทศ โดยชูแนวคิด Healthcare Ecosystem หรือ ระบบการเกื้อหนุนกันทางด้านสาธารณสุข พร้อมกับเพิ่มเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ในการนำระบบไอทีมาใช้ ถือเป็นผู้ประกอบการเฮลท์แคร์กลุ่มแรกในไทยที่ใช้แนวคิดนี้ ในการบริหารจัดการ หวังสร้างสังคมสังคมและชุมชนแห่งการให้ และเป็นแรงผลักดันให้กลุ่มผู้ประกอบการอื่นหันมาใส่ใจแนวคิดนี้มากขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด
ดร.สาธิต วิทยากร ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ผู้ดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจเพื่อสุขภาพภายใต้บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด โดยปัจจุบันมีโรงพยาบาลในเครือ 9 แห่ง ใน 8 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นครสวรรค์ อุทัยธานี พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ ลำพูน และศรีสะเกษ (เปิดดำเนินการต้นปี 2564) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พริ้นซิเพิล แคปิตอล ได้เปิดให้บริการ “โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ”อย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) ชั้นนำที่มีศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์เฉพาะทาง ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน ทำให้โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมให้บริการดูแลรักษาแก่ผู้เข้ารับบริการในทุกด้าน
นอกจากนี้ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ยังจะเป็นศูนย์กลาง (Hub) ในด้าน Healthcare Ecosystem หรือ ระบบการเกื้อหนุนกันทางด้านสาธารณสุข ให้กับโรงพยาบาลในเครือข่ายด้วย ซึ่ง Healthcare Ecosystem เป็นแนวคิดที่พริ้นซิเพิล แคปิตอล ได้นำมาใช้โดยมีการลงทุนและพัฒนาระบบร่วมกับโรงพยาบาลในเครือข่ายและพันธมิตร เพื่อทำให้โรงพยาบาลในเครือข่ายเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศเข้ากับบริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานภายในโรงพยาบาล ทำให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด ถือเป็นการสร้างสังคมและชุมชนแห่งการให้อีก
ทั้งยังได้นำเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข หรือ HealthTech เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงาน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้รับบริการซึ่งการเกื้อหนุนกันในระบบ Healthcare Ecosystem จะทำให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด ถือเป็นการสร้างสังคมและชุมชนแห่งการให้อย่างแท้จริง
นับเป็นครั้งแรกที่ พริ้นซิเพิล แคปิตอล ได้ร่วมมือครั้งสำคัญกับพันธมิตรทั้งจากภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ในการพัฒนาระบบ Healthcare Ecosystem ที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขมาใช้ อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ด้านเฮลท์แคร์ Mobile Application ด้านการแพทย์และการดูแลรักษาสุขภาพ Telemedicine หรือ ระบบแพทย์ทางไกล Big Data หรือระบบข้อมูลที่มีปริมาณมาก Hospital Information System หรือ โซลูชั่นเพื่อการจัดการข้อมูลโรงพยาบาล Electronic Medical Record (EMR) หรือการจัดการเวชระเบียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ และยังนับว่า ริ้นซิเพิล แคปิตอล เป็นผู้ประกอบการเฮลท์แคร์กลุ่มแรกในไทยที่ใช้แนวคิดนี้ในการบริหารจัดการ
โดยองค์กรพันธมิตรของ พริ้นซิเพิล แคปิตอล ที่มาร่วมกันพัฒนาระบบ Healthcare Ecosystem มี 10 ราย ได้แก่ บริษัท Human Centricจำกัด บริษัท MEDCury จำกัด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ วิรัฎฎะคลินิก มูลนิธิพงษ์ศักดิ์ วิทยากร สถาบันสุขภาพและความงามครบวงจร Prima Aestheticaby Renoviaบริษัท NK Group จำกัด องค์กร Healthcare Information and Management Systems Society (HIMSS) และสถาบันพัฒนาบุคลากร White Rabbit Management
“การนำระบบ Healthcare Ecosystem มาใช้ของกลุ่มพริ้นซิเพิล แคปิตอล มีจุดเริ่มต้นมาจากปณิธานที่ต้องการสร้างคนที่มีจิตใจของการให้ด้วยการให้การดูแลคนไข้ ชุมชน และสังคม ซึ่งทางเราหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดHealthcare Ecosystem ขึ้นอีกในวงกว้าง ในส่วนของพริ้นซิเพิล แคปิตอลเอง ก็จะต่อยอดให้เครือข่ายมีการขยายวงให้กว้างออกไปมากกว่านี้ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนางานด้านสาธารณสุขให้มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ทุกคน รวมถึงประโยชน์กับวงการสาธารณสุขของไทยอีกด้วย” ดร.สาธิตกล่าว
การสร้าง Healthcare Ecosystem ของโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เพื่อเป็นโรงพยาบาลศูนย์กลางของทุกโรงพยาบาลในกลุ่มพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมีรูปแบบการสร้างร่วมกับพันธมิตรในด้านต่างๆ อาทิ
“หลังจากการเปิดโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิแล้ว พริ้นซิเพิล แคปิตอล ยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปยังจังหวัดรองที่การบริการด้านการแพทย์ยังเข้าไปได้ไม่ทั่วถึง เพื่อรองรับความต้องการด้านบริการทางการแพทย์ของประชาชนในพื้นที่ ด้วยระดับราคาที่เหมาะสม และจะเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับโรงพยาบาลในเครือข่าย เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการ เพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการรักษา ตลอดจนการบริการที่อบอุ่นที่จะทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้มารับบริการ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มโรงพยาบาลในเครือเป็น 10 แห่งภายในปีนี้ และเป็น 20 แห่งภายในปี 2566″ ดร.สาธิต กล่าว
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม