> SET > TISCO

23 มีนาคม 2020 เวลา 08:30 น.

เก็งลดดอกเบี้ยกดNIM ชูTISCO-BBLน่าสะสม

ทันหุ้น – สู้โควิด – จับตากนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศลง ระหว่าง 0.25-0.50% สอดคล้องกับนโยบายธนาคารกลางทั่วโลก กูรูคาดกระทบตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร และกำไรขั้นต้นแบงก์ใหญ่ 5-7%แต่เพิ่มกำไรขั้นต้นแบงก์ขนาดเล็ก 2.5%แนะเข้าสะสมเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ชู TISCO, KKP และ BBL


นายธนภัทร ฉัตรเสถียร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาดการณ์การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศลงในทิศทางเดียวกับธนาคารกลางสำคัญทั่วโลก


โดยฝ่ายวิเคราะห์ทำประมาณการ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทุก 0.25% (25 เบสิกพอยต์) จะส่งผลให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin หรือ NIM) ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ กดดันศักยภาพการทำกำไรขั้นต้น อาทิ BBLคาดกำไรขั้นต้นปรับลดลง 2%, KBANK คาดกำไรขั้นต้นปรับลดลง 3.1%, KTB คาดกำไรขั้นต้นปรับลดลง 2.5%, SCB คาดกำไรขั้นต้นปรับลดลง 2.9%, และ TMB คาดกำไรขั้นต้นปรับลดลง 2.8%ขณะที่ธนาคารพาณิชน์ขนาดเล็กคาดการณ์กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นโดยคาดว่า TISCO จะเพิ่มขึ้น 2.5%


“คาดว่าคณะกรรมการนโยบายฯ ของเราคงดำเนินนโยบายทางการเงินสอดคล้องกับธนาคารกลางสำคัญทั่วโลกที่ปรับลดดอกเบี้ยลงตามธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่ลดดอกเบี้ยฉุกเฉินลงเหลือ 0% - 0.25% จากเดิม 1% - 1.25%”


สำหรับนโยบายที่ธนาคารพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-2019 นั้นประเมินว่าเป็นมาตรการที่ทุกธนาคารสามารถพิจารณาดำเนินการกับลูกหนี้เฉพาะราย จึงไม่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญ ยังคงแนะนำ “ทยอยเข้าสะสม” หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เนื่องจากยังเป็นกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ


โดยเฉพาะ TISCO ที่จ่ายปันผล 7.75 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงถึง 12% เมื่อเทียบกับ ราคาเคลื่อนไหว ณ ปัจจุบัน (67.75 บาท) กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 27 เมษายน 2563 และกำหนดจ่ายเงินปันผล 15 พฤษภาคม 2563, KKPที่จ่ายปันผลเป็นเงินสด 2.75 บาทต่อหุ้น กำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD 30 เมษายน 2563 วันที่จ่ายปันผล 21 พฤษภาคม 2563


น้ำหนัก “น้อยกว่าตลาด”


บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ คาดการณ์การประชุม กนง. ธปท.ในวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศลงระหว่าง  0.25% - 0.5% จากระดับปัจจุบันที่ 1% สู่ระดับ 0.5% - 0.75% ส่งผลกระทบตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร (Interbank) ทันที โดยเฉพาะธนาคารที่มีสถานะ Net Lender สุทธิ นําโดย BBL, TMB และ KTB ทําให้การบริหารสภาพคล่องส่วนเกินลำบากมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนเงินฝากที่ทรงตัวในระดับต่ำที่สุดในปัจจุบันคาดว่าอยู่ที่ 0.96% (อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.5%และเงินนำส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 0.46%)


ฝ่ายวิเคราะห์ให้น้ำหนักกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ลงตามในทันที สวนทางกับกาปรับลดอัตรา

ดอกเบี้ยเงินฝาก (ซึ่งเป็นต้นทุน) ต้องอาศัยระยะเวลาทยอยปรับตามประเภทเงินฝาก โดยเฉพาะเงินฝากประจำ ถือเป็นปัจจัยลบต่อ NIM ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้งปี 2563 ที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดการณ์ว่าที่ประมาณ 2.93%


ผลจาก Interbank พบว่า ทุกการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จะกระทบกำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ฝ่ายวิเคราะห์รวบรวม 9 ธนาคาร (ไม่รวม TCAP) ประมาณ 5% จากปัจจจุบนที่ 1.84 แสนล้านบาท (-8% yoy) โดยประเมินว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ จะได้รับผลกระทบทางลบในระดับที่ใกล้เคียงกันประมาณ 5% - 7% จากประมาณการเดิม แม้ราคาหุ้นทั้งกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับฐานไปมากพอสมควร แนะนำ “ทยอยสะสม” หลังมีผลการประชุมคณะกรรมการกนง. และเลือก BBL เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มจากปริมาณเงินสํารองสงสูด ราคาเหมาะสม 201 บาทคาดอัตราการจ่ายเงินปันผล 4.4%

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X