> SET > BTS

27 พฤศจิกายน 2020 เวลา 12:10 น.

โบรกหั่นเป้าราคาBTS-รอไฟเขียวต่อสัมปทานสายสีเขียว

ทันหุ้น-บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด ปรับราคาเป้าหมาย BTS ลดลงสู่ 13.7 บาท/หุ้น (จาก 14.3 บาท) อ้างอิงวิธี SOTP ของ หลังจากปรับประมาณการกำไรลดลง พร้อมทั้งนำโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา (0.7 บาท) และโครงการมอเตอร์เวย์สองสาย (0.3 บาท) เข้ามาในราคาเป้าหมายแล้ว


ทั้งนี้เชื่อว่าไม่น่าจะเห็นการใช้สิทธิแปลงสภาพ BTS-W5 เมื่อพิจารณาจากราคาใช้สิทธิที่ 13.9 บาท/หุ้น เทียบกับราคาปิดล่าสุดที่ 10.5 บาท/หุ้น และวันหมดอายุ 16 ก.พ. 2564 ดังนั้นจึงถอดรายการนี้ออกจากสมมติฐานของเรา เราให้เรทติ้ง NEUTRAL สำหรับ BTS ทั้งนี้หากยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ราคาหุ้น BTS ไม่น่าจะปรับตัว outperform ตลาด


กำไรมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ช้ากว่าที่เราคาด BTS รายงานกำไรสุทธิ 1HFY64 จำนวน 1.2 พันลบ. ลดลง 40.7% YoY คิดเป็นสัดส่วนเพียง 33% ของประมาณการกำไรสุทธิปี FY2564 ที่เราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ผลการดำเนินงานที่อ่อนแอหลักๆ เกิดจากรายได้จากการดำเนินงานที่ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการ และการบันทึกรายได้จากการให้บริการติดตั้งงานระบบและการจัดหารถไฟฟ้าขบวนใหม่สำหรับโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่ลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงท้ายของการก่อสร้าง ดังนั้นเราจึงปรับประมาณการกำไรปี FY2564 ของเราลดลง 19% เพื่อสะท้อนกำไรสุทธิ 1HFY64 ที่อ่อนแอกว่าคาด โดยปรับประมาณการรายได้จาก VGI U-City และ MACO ลดลง ปัจจุบันเราคาดการณ์กำไรสุทธิปี FY2564 ที่ 3.0 พันลบ. ลดลง 63.6% YoY


การต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่การต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่จากกระทรวงคมนาคม ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ระบุว่า ในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 17 พ.ย. รมว.คมนาคมได้ขอคำชี้แจง เช่น ผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับในแง่ของผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (ERR) และอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FRR) อีกทั้งอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท/เที่ยว นั้นสูงเกินไปเมื่อเทียบกับ MRT สายสีน้ำเงินที่ 42 บาท และ ฯลฯ


BTS พร้อมตอบทุกประเด็น จากการที่เราได้พูดคุยกับทาง BTS บริษัทเชื่อว่าสามารถตอบทุกประเด็นที่กระทรวงคมนาคมหยิบยกมา สำหรับประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐนั้น ผู้บริหารชี้แจงว่าบริษัทพิจารณาทั้ง EIRR และ FIRR ภายใต้สัมปทานใหม่ BTS จะแบ่งรายได้ให้กับรัฐบาลและรับภาระหนี้ของกทม. สำหรับอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ แม้อัตราค่าโดยสารขั้นต่ำสูงกว่าอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำของ MRT สายสีน้ำเงิน แต่เป็นเพราะ BTS มีระยะทางเดินรถ 66 กม. ยาวกว่า MRT สายสีน้ำเงินที่มีระยะทางเดินรถ 48 กม. แม้อัตราค่าโดยสารต่อกม.ของ BTS อยู่ที่ 0.97 บาท/กม. สูงกว่า MRT สายสีน้ำเงินที่ 0.88 บาท/กม. อยู่เล็กน้อย แต่ BTS ระบุว่าโครงสร้างต้นทุนแตกต่างกัน เนื่องจาก BTS ต้องลงทุนทั้งในงานโยธาและงาน E&M สำหรับสายสีเขียว ในขณะที่ MRT สายสีน้ำเงิน รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนในงานโยธา ทำให้ BEM ลงทุนแค่งาน E&M


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X