> KS Whole in one >

25 มกราคม 2021 เวลา 06:30 น.

คาดหุ้นใหญ่อยู่ช่วงปรับฐาน แนะเก็งกำไรหุ้นขนาดกลาง-เล็ก

- วันจันทร์ติดตาม กิจกรรมระดับชาติของธนาคารกลางรัฐชิคาโก (ธ.ค.), ดัชนีธุรกิจภาคการผลิตของธนาคารกลางรัฐดัลลาส (ม.ค.)


- วันอังคารติดตาม รายงานการประชุมนโยบายการเงินญี่ปุ่น, รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากซีบี (CB Consumer Confidence) (ม.ค.)ของสหรัฐ ตลาดคาด 89.0, ดัชนีราคาบ้านใน 20 รัฐจากรายงานของ S&P/CS (ปีต่อปี) (พ.ย.)ของสหรัฐ ตลาดคาด 6.9%


- วันพุธติดตามกำไรภาคอุตสาหกรรมของจีน (ปีต่อปี) (ธ.ค.), กำไรภาคอุตสาหกรรมของจีน YTD (ธ.ค.), ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.)ของสหรัฐ ตลาดคาด0.5%


- วันพฤหัสติดตามการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ, ดัชนีจีดีพี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 4)สหรัฐ ตลาดคาด4.4%, ดัชนีราคาจีดีพี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 4)สหรัฐ ตลาดคาด 2.8%, ยอดขายบ้านใหม่ (ธ.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด 877K


- วันศุกร์ติดตามดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เดือนต่อเดือน) (ธ.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด 0.2%, ดัชนีอัตราค่าจ้างแรงงาน (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 4)สหรัฐ ตลาดคาด 0.5%


หากนับจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปธน. Reagan ในปี 1981 จนถึงปัจจุบันเพื่อวัดผลของสินทรัพย์ต่างๆทั่วโลกในการเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ 100วันแรก พบว่าสินทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นดีที่สุดได้แก่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (MSCI Emerging market) +12.4% น้ำมันดิบ (Brent) +6% ในขณะที่ตลาดหุ้นโลก (MSCI Global Index) +3.5%, ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P ให้ผลตอบแทน 8/10 ครั้งเป็นบวกเฉลี่ยประมาณ 3%, ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 2%, ทองคำแกว่งในกรอบแคบ 0.3%, อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10ปีสหรัฐ ปรับขึ้นประมาณ 25bps และสำหรับ SET Index แกว่งในกรอบแคบเช่นกันที่ 1.2% และในปีนี้เราคาดว่าสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางสินทรัพย์ต่างๆ คือนโยบายความร่วมมือการกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างก.คลัง (นำทีมโดย Yellen) และสภาพคล่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (นำทีมโดย Powell) และการเร่งจัดการปัญหาการแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีน และสำหรับทิศทางตลาดหุ้นฝั่งเกิดใหม่ เราประเมินว่าส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับทิศทางของค่าเงินดอลลาร์เช่นกัน


อีกประเด็นสำคัญนั่นคือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเตรียมปรับเกณฑ์การคำนวณดัชนีหลักทรัพย์จากเดิมใช้มูลค่าหลักทรัพย์ หรือ Market capitalization (ราคาหุ้นคูณกับจำนวนหุ้นจดทะเบียน) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ผสมกับ Free Float (Free Float Adjusted Market Capitalization) เพื่อให้ดัชนีสามารถสะท้อนตลาดได้ดีมากขึ้น โดยหากเกิดขึ้นจริงเราประเมินว่าจะกระทบหุ้นหลายตัวโดยเฉพาะในฝั่งของ SET50 โดย 5หุ้นที่คาดได้รับผลกระทบสูงสุดนำโดย DELTA (-3.2%), AOT (-2.6%), GULF (-1.46%), ADVANC (-0.9%), GPSC (-0.9%) ในขณะที่ 5หุ้นที่คาดอาจได้รับการปรับน้ำหนักสูงสุดคือ BBL (+2.36%) ซึ่งทุกๆ 1%ของราคาหุ้นที่ปรับขึ้นส่งผลต่อ SET INDEX ประมาณ 0.47จุด, SCC (+1.83%), SCB (+1.82%), KBANK (+1.52%) และ BDMS (+1.2%) โดยสรุปเราแนะนักลงทุนติดตามเกณฑ์ดังกล่าวว่าสุดท้ายจะออกมาในรูปแบบไหน และประกาศใช้จริงเมื่อไร ซึ่งกลุ่มที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือ กลุ่มธนาคาร


สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รายงานตัวเลขยอดขายรถยนต์/ยอดผลิตรถยนต์ เดือน ธ.ค. 63 ภาพรวม ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเติบโต 11.3% YoY จากงาน MotorShow2020 และสภาพเศรษฐกิจที่ค่อยๆฟื้นตัวหลังช่วงล็อคดาวน์ รวมไปถึงยอดผลิตรถยนต์ที่เติบโต 6.5% YoY (CAPU rate 57%) จากทั้งการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อขายในประเทศ (+36.8%) และการผลิต รถยนต์เชิงพาณิชย์เพื่อขายในประเทศ (+26.3%) อย่างไรก็ดี การส่งออกรถยนต์หดตัว 5.2% จากทุกทวีป ยกเว้นตลาดเอเชีย และออสเตรเลีย มองยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก


โดยสำหรับปี 64 นี้ สอท. ให้เป้าการผลิตรถยนต์ที่ 1.5 ล้านคัน (750,000 จากการผลิตเพื่อส่งออก และ 750,000 ผลิตเพื่อขายในประเทศ) หลังจากมีการพูดคุยกับ คุณสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงศ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท. พบว่าประเด็นที่ต้องจับตามีอยู่ 2 เรื่อง คือ 1. การระบาดระลอก2ในไทยและตปท.ที่นำไปสู่การล็อกดาวน์ อาจทำให้การผลิตในปีนี้โดนกดดัน รวมไปถึงตัวเลขยอดขายรถยนต์จากกำลังซื้อของคนในประเทศที่หายไป และ 2. การขาดแคลนชิพ (Semiconductor) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการผลิตรถยนต์ จากอุปสงค์ของทางฝั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นจาก WFH ตั้งแต่ปีที่แล้ว กอปร การล็อกดาวน์ที่ทำให้มีการปิดโรงงานรถยนต์ แต่ในปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์ฟื้นตัวขึ้นมาเร็วกว่าคาด และการเปิดตัวมือถือใหม่ ทำให้ความต้องการชิพนั้นสูงมาก จนเกิดภาวะชิพขาดแคลน ซึ่งเริ่มเห็นในต่างประเทศที่ค่ายรถยนต์บางค่ายสั่งหยุด/ลดกำลังการผลิตลง เรามองว่าประเด็นนี้อาจส่งผลลบต่อห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ของไทย ส่งผลต่อตัวเลข 1.5 ล้านคันของสอท. โดยคาดจะเป็นลบต่อ SAT (ผลิตเพลารถได้ลดลง), KCE (อาจผลิต PCB ส่งให้บริษัทรถยนต์ได้ลดลง) แนะนักลงทุนติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด แม้ว่าสถานการณ์ในไทยอาจจะยังไม่บานปลาย หรือสามารถแก้ไขได้ในที่สุด

มุมมองตลาดหุ้น คาด SET แกว่งในกรอบ 1,500-1,530 จุด


หุ้นแนะนำประจำสัปดาห์หน้า

CENTEL พื้นฐาน 25.25 บาท

RBF พื้นฐาน 9.40 บาท

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X