> Digital Coin >

10 กันยายน 2021 เวลา 13:36 น.

บล็อกเชน ทำอะไร? ในระบบ Energy Trading

ที่ผ่านมาบล็อกเชนอาจจะได้รับการพูดถึงในแง่ของการเป็นเทคโนโลยีด้านการเงินการธนาคารจนทำให้หลายคนคิดว่าบล็อกเชนเป็นเรื่องเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วบล็อกเชนสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อีกหลายอุตสาหกรรมรวมไปถึงในอุตสาหกรรมพลังงาน


แต่บล็อกเชนที่นำมาใช้ในกิจการด้านพลังงานจะเป็น Blockchain 2.0 ในส่วนของ Smart contract ไม่ใช่ Blockchain 1.0 ที่เราคุ้นเคยกัน ดังนั้นเราจึงควรจะต้องมาทำความรู้จักกับ Smart contract กันก่อนเพื่อให้เข้าใจว่าบล็อกเชนสามารถนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอื่นได้อย่างไร


Blockchain 1.0 คือ ฟังก์ชันการเก็บข้อมูลที่ใช้กับการเก็บรักษาเงินสกุลคริปโตแต่ Blockchain 2.0 คือ ฟังก์ชันที่ทำให้บล็อกเชนนำมาใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่อง Smart contract

อะไร คือ Smart contract


เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น เราจะสมมุติเปรียบเทียบกับการเล่นเกมเป่ายิงฉุบในการเล่นเกมจะมีกรรมการ 1 คน ซึ่งกรรมการจะได้รับกติกาเป่ายิงฉุบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน คือ ค้อนชนะกรรไกรกรรไกรชนะกระดาษกระดาษชนะค้อน


· มีผู้เล่นชื่อ A กับ B มาแข่งกันการแข่งแต่ละครั้งกรรมการก็จดไว้ว่าใครแพ้ ชนะ หรือ เสมอ สมมุติว่าเล่นกัน 700 ครั้ง A จำได้ว่า A ชนะไป 250 ครั้งเสมอ 300


· แต่ทาง B ก็บอกว่า B ต่างหากที่ชนะ 250 ครั้ง ในขณะที่กรรมการเองข้อมูลที่จดมาไม่ตรงกับทั้งที่ A และ B บอกทีนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าผู้ชนะเป็นใครกันแน่ใครที่เป็นคนจดผิดหรือจำผิด เราจะใช้อะไรเป็นตัวตัดสินเรื่องนี้ได้


· ถ้าเราเปลี่ยนใหม่เป็นมีการจัดตั้งกรรมการมา 5 คนทุกครั้งที่ A กับ B เป่ายิงฉุบกรรมการทุกคนต้องบอกกันว่า A ออกอะไร B ออกอะไรแล้วใครแพ้ หรือ ชนะ ถ้าเสียงข้างมากเห็นตรงกันทุกคนก็จะต้องจดลงไปในสมุดบันทึกของตัวเองให้เหมือนกันทั้งหมดว่าใครออกอะไร แล้วใครแพ้ ใครชนะ พอครบ 700 ครั้ง กรรมการทุกคนก็นำเอาผลรวมคะแนนมายืนยันให้ดูกัน ถ้าส่วนใหญ่ได้ตรงกันนั่นก็คือผลอย่างเป็นทางการ

เมื่อนำมาเทียบเพื่อทำความเข้าใจกับบล็อกเชนกติกาการเป่ายิงฉุบก็ คือ Smart contract ที่ทำมาสำหรับการเป่ายิงฉุบ โดยเฉพาะ input คือการออกค้อนกรรไกรกระดาษของ A และ B ส่วน output คือแพ้ชนะหรือเสมอกรรมการแต่ละคนก็ คือ Node ในบล็อกเชนเวลากรรมการจะมาตัดสินใจร่วมกันว่าจะบันทึกลงไปในสมุดของตัวเองหรือไม่นั่นเรียกว่า consensus


ทุกครั้งที่มีการบันทึกผลลงไปในสมุดถ้ามันไม่มีทางลบได้ หรือไปแก้ไขทีหลังได้ ระบบก็มีความปลอดภัยมากขึ้น และนั่นคือจุดเด่นของบล็อกเชน


ดังนั้นบทบาทของ Smart contract ในบล็อกเชนภายใต้อุตสาหกรรมพลังงานนั้นสามารถทำได้ในระบบ Energy Trading เพราะในอนาคตจะมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าแบบดั้งเดิม สู่โครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าในรูปแบบใหม่


โครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าแบบดั้งเดิมนั้นทิศทางการไหลของไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิม เริ่มจากการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่มาจากทั้งถ่านหินเชื้อเพลิงพลังงานลมพลังงานแสงอาทิตย์ฯลฯ จากนั้นพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านระบบส่งไฟฟ้ากำลัง (Transmission System) โดยส่งไฟฟ้าแรงดันสูงเพื่อไปยังระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution System) ผู้ค้าปลีกไฟฟ้าและสุดท้ายจะถูกส่งไปยังลูกค้าอุตสาหกรรมลูกค้าธุรกิจและลูกค้าครัวเรือน


สำหรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้ารูปแบบใหม่ เนื่องจากแหล่งผลิตพลังงานที่มีราคาถูกลงเกิดขึ้น เช่น ต้นทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกลงแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิงที่มีราคาถูกลง ทำให้ลูกค้าอุตสาหกรรมลูกค้าธุรกิจและลูกค้าครัวเรือนมีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าและกักเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยตนเอง หรือ ที่เรียกว่า Prosumer


ดังนั้น พลังงานที่เหลือจากการใช้งานทำให้เกิดธุรกิจแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถขายไฟฟ้าที่เหลือใช้ไปให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่นได้ ซึ่งสามารถขายได้ทั้งภายในไมโครกริดและระหว่างไมโครกริด (ระบบไฟฟ้าขนาดเล็กที่ดูแลตัวเองได้ครบทุกด้านเช่นมหาวิทยาลัย หรือ นิคมอุตสาหกรรม หรือ หมู่บ้านที่ติดโซลาร์จำนวนมาก) หรือผู้ค้าพลังงานหากพลังงานภายในไมโครกริดเหลือใช้ โดยมีผู้ควบคุมไมโครกริด (Microgrid Operator) ทำหน้าที่จัดการและบริหารการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไมโครกริด


ในจุดนี้เองที่บล็อกเชนจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ เพื่อเก็บสัญญาการซื้อขายไฟแต่ละช่วงเวลาที่ต้องส่งพลังงานรวมทั้งข้อกำหนดร่วมกันเช่น หากไม่สามารถส่งไฟได้ตามกำหนดจะมีค่าปรับเท่าไหร่ หรือการกำหนดให้คนขายและซื้อไฟต้องฝากเงินไว้ในระบบเมื่อมีการซื้อขาย ก็สามารถจะตัดเงินออกจากบัญชีได้อัตโนมัติไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเงินจ่ายค่าไฟหรือค่าปรับ

การออกคาร์บอนเครดิต หรือ Renewable Energy Credit (REC) ก็เริ่มเกิดขึ้นโดยทั่วไปแล้ว REC และคาร์บอนเครดิตสามารถซื้อขายได้ REC เมื่อซื้อขายแล้วจะสามารถเปลี่ยนเป็น Carbon credit ได้แต่ถ้าเปลี่ยนแล้วไม่สามารถนำกลับมาขาย REC ได้อีกพูดง่ายๆคือห้ามขายพร้อมกันทั้งสองอย่างหรือที่เรียกว่า double count เป็นการป้องกันการขายซ้ำ


วิธีหนึ่งที่ป้องกันการขายซ้ำได้คือทุกครั้งที่ออก REC สามารถนำเลขมิเตอร์มาผูกไว้บน Smart contract แล้วหากมีการ convert ให้เป็นคาร์บอนเครดิตตัว Smart contract ก็จะบันทึกไว้ว่า REC นี้ได้ถูกนับไปแล้วใช้ต่อไม่ได้


ระบบซื้อขายที่เข้าใจ Smart contract ก็จะไม่ยอมให้มีการซื้อขาย REC ที่โดน convert แล้วกลับมานับซ้ำเพื่อนำไปใช้ในจุดประสงค์อื่นอีกดังนั้น Smart contract จะช่วยให้ทุกฝ่ายมั่นใจในกติกานี้แม้จะไม่เห็นคาร์บอนเครดิต หรือ REC ด้วยตาเปล่าได้ก็ตาม


ในอนาคตรูปแบบโครงสร้างธุรกิจโครงสร้างอุตสาหกรรมจะถูกปฎิวัติ โดยตัวกลางต่างๆ จะถูกลดบทบาทลงผู้ขายและผู้ซื้อสามารถติดต่อกันตรง โดยผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งจะช่วยให้ทุกธุรกรรมที่สื่อสารกันนั้นเชื่อถือได้รวดเร็วโปร่งใส โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง


เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นเข้ามาเพื่อช่วยให้สิ่งที่เคยเป็นไปไม่ได้อย่างการเทรดพลังงานเกิดขึ้นได้ในวันนี้เพียงแค่เราเข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานก็จะสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาในอุตสาหกรรมอื่นในอนาคตต่อไปได้


ที่มา : บริษัทบล็อคฟินท์ จำกัด


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิก https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิก https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X