> SET > GPSC

27 ธันวาคม 2021 เวลา 07:45 น.

GPSCเร่งมือแบตเตอรี ปักธง1กิกะวัตต์ปีหน้า

ทันหุ้น - มาตรการส่งเสริมอีวีจ่อครม. GPSC รับอีวีเดินหน้าเร็วกว่าที่คาด ช่วยดันธุรกิจแบตเตอรีประกาศเร่งลงทุนแบตเตอรีปีหน้า 1 กิกะวัตต์ ปักธงเป้า 5-10 กิกะวัตต์ ในระยะเวลา 10 ปี  พร้อมขยายพันธมิตรต่อเนื่อง ล่าสุดพัฒนาต้นแบบแบตเตอรีเรือโดยสารไฟฟ้า โบรกมองเป็นปัจจัยเติบโตระยะยาว ปลื้มแนวทางจับมือพันธมิตรหลายบริษัทเป้าพื้นฐาน 98 บาท


นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายยานยนต์แห่งชาติ จะเสนอมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 28 ธันวาคม 2564 หากไม่ทันจะเสนอ ครม.ในช่วงหลังหยุดเทศกาลปีใหม่ เพื่อจะประกาศมาตรการในต้นปี 2565  ขณะนี้เตรียมข้อมูลหลายๆ ด้านอย่างรอบคอบ แต่รับรองว่าประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดและทำให้รถอีวีบูมแน่นอน ส่วนจะสนับสนุนและมอบสิทธิพิเศษอย่างไรบ้างนั้น ยังไม่อยากบอกตอนนี้ขอให้อดใจรออีกนิดเดียว ซึ่งตอนนี้ก็ได้เร่งดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว


นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือGPSC เปิดเผยว่าการเร่งผลักดันมาตรการส่งเสริม อีวี ถือว่าเดินหน้าเร็วกว่าที่คาด และยังมีปัจจัยหนุนเรื่องเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นตัวเร่งอุตสาหกรรมอีวี ที่ผ่านมาบริษัทได้เดินหน้าโรงงานแบตเตอรี ด้วยเทคโนโลยีการผลิตของบริษัท 24M Technologies Incorporation หรือ 24M จากประเทศสหรัฐอเมริกา


@ ปักธงผลิตแบต10Gwh

ทั้งนี้บริษัทจะเดินหน้าในการขยายการลงทุนร่วมกับพันธมิตรต่อเนื่อง โดยคงเป้าหมาย 5-10 กิกะวัตต์ชั่วโมง ในระยะเวลา 10 ปี คาดใช้เงินลงทุน 30,000 ล้านบาท  เบื้องต้นคาดว่าปี 2565 จะสรุปการลงทุนขยาย 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงก่อน เน้นขยายการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และรองรับกับการเข้าลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ


@ พันธมิตรร่วมพัฒนา

นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันมิตรอื่นๆ เพื่อสร้างดีมานด์ที่จะใช้งานแบตเตอรี ล่าสุดได้ลงนาม“บันทึกข้อตกลง (MOU) กับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ในการผลักดันโครงการพัฒนาต้นแบบแบตเตอรี และระบบขับเคลื่อนเรือโดยสารไฟฟ้าเป็นก้าวสำคัญที่บริษัทจะได้เริ่มต้นพัฒนาเรือโดยสารไฟฟ้าอย่างจริงจัง โดยการพัฒนาครั้งนี้จะใช้แบตเตอรีลิเธียมอิออน ที่ศึกษาโดย GPSC เป็นแบตเตอรีที่มีคุณภาพซึ่งผลิตในประเทศไทย นำมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งในเรือไฟฟ้า รุ่น Water Limousine ของ เรือด่วนเจ้าพระยา ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงระหว่างการออกแบบ ส่วนรถยนต์ไฟฟ้านั้นในกลุ่มปตท.ดำเนินการ ร่วมกับกลุ่มบริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด (Foxconn) เป็นโอกาสในการขยายการลงทุนต่อไป สร้างการเติบโตให้แก่บริษัทในระยะยาว ทั้งนี้คาดว่าปีหน้าจะเริ่มเห็นรายได้ในธุรกิจดังกล่าวเข้ามาเพิ่มขึ้น


@โอกาสเติบโตระยะยาว

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง GPSCว่ า ธุรกิจแบตเตอรีเป็น New S-Curve ของบริษัทได้มีการเซ็น MOU กับบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา พัฒนาต้นแบบแบตเตอรีเรือโดยสารไฟฟ้า G-Cell เพื่อใช้ในระบบขับเคลื่อนเรือโดยสารไฟฟ้า ขณะนี้อยู่ในช่วงออกแบบ คาดจะเริ่มจาหน่ายได้ในปี 2566 นับเป็นการต่อยอดธุรกิจแบตเตอรี่ของบริษัท ซึ่งคาดว่าธุรกิจนี้จะเป็น Key Growth ในระยะยาว


โดยบริษัทได้ลงทุนและจับมือกับพันธมิตรหลายบริษัทไปแล้ว เช่นลงทุน 11.1% ใน Anhui Axxiva New Energy Technology ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตขนาด 1GWh ในจีน, จับมือกับ OR พัฒนาแบตฯ G-Box, จับมือกับ Swap & GO พัฒนาแบต G-cell สำหรับรถจักรยานยนต์, เซ็น MOU กับ 9 บริษัท EV พัฒนาแบตและแพลตฟอร์มในการเปลี่ยนแบตที่สถานีบริการ คงคำแนะนำ ซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 98 บาท โดยคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 1/2565 จะดีขึ้นหลังค่า Ft สูงขึ้น 0.1671 บาทต่อหน่วยในช่วงมกราคม ถึง เดือนเมษายน 2565 รวมทั้งต้นทุนถ่านหินลดลง


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X