TOPน้ำมันเจ็ทพร้อมดีด กำไรสต๊อกโผล่ครึ่งหลัง
เช็ก TOP น่าช้อปไหม ?
#TOP #ทันหุ้น – TOP มองค่าการกลั่นไตรมาส 4/2565 ที่ 7-8 ดอลลาร์ ส่วนราคาน้ำมัน 90-100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มองดีมานด์น้ำมัน-น้ำมันสายการบินฟื้นต่อเนื่อง เดินหน้าแผนลงทุนโครงการ CFP ส่วนโครงการขยายกำลังการผลิต CAP2 จะมี การตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายภายในไตรมาส 4/2565 พร้อมเป้าหมายลงทุนสตาร์ทอัพผ่าน CVC เพิ่มเติมอีกประมาณ 3 บริษัท
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าการกลั่นไตรมาส 4/2565 จะอยู่ที่ประมาณ 7-8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ยังมีแนวโน้มดีขึ้น จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นทั้งดีเซลและแก๊สโซลีน ขณะที่น้ำมันอากาศยานฟื้นตัวขึ้นจากการเดินทางมากขึ้น โดยปกติ สัดส่วนยอดขายน้ำมันอากาศยานจะอยู่ที่ประมาณ 20% แต่ในช่วงเกิดสถานการณ์ โควิด-19 สัดส่วนยอดขายลดลงมาอยู่ที่ระดับ 7% และปัจจุบันสัดส่วนยอดขาย กลับมาที่เกือบ 20% ส่วนกำลังการกลั่นปัจจุบันบริษัทใช้กำลังกลั่นเต็ม 100% ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 90 - 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ส่วนการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture) บริษัทเดินหน้าในการศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อเดินตามกลยุทธ์ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี 2050 และก้าวสู่การเป็นเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ปี 2060
*เติบโตในธุรกิจใหม่ๆ
ทั้งนี้เดินหน้าการเติบโตในธุรกิจใหม่ๆ ผ่านยุทธศาสตร์ 3V’s นั่นคือ 1.Value Maximization : Integrated Crude to Chemicals การบูรณาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าจากธุรกิจโรงกลั่นสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เช่น อะโรเมติกส์ โอเลฟิน รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับผลิตภัณฑ์ และเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทยออยล์
- โครงการ CFP เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของธุรกิจปิโตรเลียม ซึ่งนอกจากตอบโจทย์ด้านความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนน้ำมันดิบ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ยังเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถต่อยอดไปธุรกิจปิโตรเคมีและ HVP นอกเหนือจากการลงทุนใน CAP ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินของไทยออยล์ สร้างโอกาสจากการขยายกำลังการผลิตเพิ่มกว่าเท่าตัว (โครงการ CAP2) และการต่อยอดไปยังธุรกิจปลายน้ำ
*ลุยขยายฐานต่างประเทศ
2.Value Enhancement : Integrated Value Chain Management การบูรณาการขยายตลาดและกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ต่างประเทศในระดับภูมิภาค เน้นตลาดที่มีความต้องการสูงเพื่อเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย ซึ่งมีการเจริญเติบโตสูง รวมถึงเพิ่มโอกาสในการลงทุนในประเทศเหล่านี้ เพื่อเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของ End User มากขึ้น
3.Value Diversification : การกระจายการเติบโตสู่ธุรกิจที่มีความมั่นคงของผลกำไร เช่น ธุรกิจไฟฟ้า ผ่านการเจริญเติบโตในบริษัท GPSC รวมถึงแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต เช่น Biojet, Bioplastics/Biochemicals, Blue/Green Hydrogen โดยใช้กลไกการลงทุน 2 แบบ ได้แก่ การลงทุนผ่าน Corporate Venture Capital (CVC) และการลงทุนในรูปแบบ Joint Venture และ Merger and Acquisition
*ลงทุนสตาร์ทอัพ
ทั้งนี้ในส่วนของ Corporate Venture Capital (CVC) : ไทยออยล์ได้จัดตั้งบริษัท ท็อป เว็นเจอร์ส จำกัด (TOP Ventures) เพื่อร่วมลงทุนใน Start-Ups ที่น่าสนใจทั่วโลก โดยโฟกัสใน 3 กรอบธุรกิจ ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Technology) เทคโนโลยีด้านการทดแทนการใช้น้ำมัน (Hydrocarbon Disruption Technology) และเทคโนโลยีสนับสนุนอุตสาหกรรมและการผลิต (Manufacturing Technology) ซึ่งในปัจจุบัน ไทยออยล์ ได้มีการลงทุน Start-Up จำนวน 5 บริษัท ได้แก่
1.บริษัท UnaBiz ผู้ออกแบบและให้บริการครบวงจรสำหรับผลิตภัณฑ์ Internet of Things (IoT) 2.บริษัท Versogen ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Anion Exchange Membrane (AEM) สำหรับการผลิต Green Hydrogen 3.บริษัท Ground Positioning Radar (GPR) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีระบุตำแหน่งสำหรับรถยนต์ไร้คนขับ 4.บริษัท Mineed ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Detachable & Dissolvable Microneedle สำหรับการใช้งานในด้านเครื่องสำอางและยา
5.บริษัท Everactive ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ที่ใช้พลังงานต่ำ ไร้สายและแบตเตอรี่ รวมถึงได้เข้าลงทุนใน Venture Capital Funds ระดับโลก จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ Rhapsody Venture Partners (USA), Grove Ventures (Israel) และ Alibaba Entrepreneurs Fund (HK/China) ขณะที่ในปี 2565 มีเป้าหมายที่จะลงทุนใน Start-Up ผ่าน CVC เพิ่มเติมอีกประมาณ 3 บริษัท
นอกจากนี้ในส่วนของ New S-Curve ทิศทางในการสร้าง New S-Curve ของไทยออยล์นั้นได้มีการวางแนวทางไว้ 2 รูปแบบ-Step Out Business : มุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจใหม่ผ่านการร่วมทุน (JV) และการควบรวมกิจการ (M&A) ในธุรกิจที่มีศักยภาพ มีโอกาสเติบโตสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมุ่งเน้นที่ธุรกิจแห่งอนาคตที่เป็นเมกะเทรนด์ 2 ด้าน
ประกอบด้วย 1. Bio Technology : ธุรกิจชีวภาพ เช่น โครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (Bio-Jet), โครงการชีวเคมี (Biochemicals), โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) 2. New Energy and Mobility : ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ การเดินทางและการขนส่ง เช่น โครงการผลิต “ไฮโดรเจนสีเขียว” ความบริสุทธิ์สูง (Green Hydrogen) และเทคโนโลยีการดักจับ และการใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS)
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_
APP ทันหุ้น ANDROID คลิก https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิก https://qrgo.page.link/QJKT7
[email protected] คลิก https://lin.ee/uFms4n5
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม