> รู้ทันการลงทุน >

01 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 06:10 น.

เงินบาท “อ่อนค่า” VS “แข็งค่า” คืออะไร

เวลานักลงทุนมือใหม่แบบเราได้ยินว่า“ค่าเงินอ่อน”หรือ“ค่าเงินแข็ง”จะกระทบตลาดหุ้นทุกที แต่ผลกระทบที่ว่าจะเป็นอย่างไร วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวง นำข้อมูลดี ๆ จากรายการ ร.ว.ย. มาเล่าสู่กันฟัง


ค่าเงินคือ การเปรียบเทียบกันระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน ของสกุลเงินไทยเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้


1.เงินบาทอ่อนค่า คือการที่เราสามารถใช้เงินบาท เท่าเดิม แลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ ลดลง


2. เงินบาทแข็งค่า คือการที่เราสามารถใช้เงินบาท เท่าเดิม แลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ มากขึ้น


แต่เห็นแบบนี้แล้วใช่ว่าเงินบาทแข็งค่าจะดีเสมอไป โดยในแต่ละกรณีก็จะมีคนที่ได้ประโยชน์แตกต่างกันไปดังนี้


ผู้ได้รับประโยชน์ :เมื่อเงินบาทอ่อน คือ ผู้ส่งออกสินค้า และเมื่อเงินบาทแข็ง คือ ผู้นำเข้าสินค้าและประชาชน


ผู้เสียประโชน์ :เมื่อเงินบาทอ่อน คือ ผู้นำเข้าสินค้าและประชาชนและเมื่อเงินบาทแข็ง คือ ผู้ส่งออกสินค้า


ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน: เกิดจากความต้องการใช้เงินในสกุลใดเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินของสกุลนั้น ๆ แข็งค่าขึ้น เช่น


- ช่วงสงครามที่การลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง นักลงทุนจะอยากถือเงินสดมากขึ้น ทำให้ความต้องการถือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เป็นสกุลเงินหลักของโลก เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก


- ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดโดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นักลงทุนจะอยากเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่ามากขึ้น


ยกตัวอย่างกรณีที่ 1 เงินบาทอ่อนค่า: จาก 34 เป็น 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เดิม โอนเงินไปลงทุนต่างประเทศผ่านบริการของ BLS Global Investing จำนวน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะแลกเงินได้เป็นจำนวนราว 1,020,000บาทดังนั้น หากเงินบาทอ่อนค่าลงจาก 34 เป็น 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้นักลงทุนแปลงเป็นเงินบาทได้มูลค่าราว 1,050,000 บาท หรือได้กำไรประมาณ 30,000 บาท นั่นเอง


ยกตัวอย่างกรณีที่ 2 เงินบาทแข็งค่า : นายบัว ต้องการเงิน จำนวน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อไปเที่ยวที่สหรัฐ แลกเงินที่อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เป็นจำนวนเงินราว 102,000 บาทดังนั้น หากเงินบาทแข็งค่าจาก 34 เป็น 30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จะทำนายบัวใช้เงินเพียง 90,000 บาท ใช้เงินน้อยลงถึง 12,000 บาท


ค่าเงินบาทกับตลาดหุ้นไทย


ข้อมูลของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD) และดัชนี SET ในรอบ 10 ปี

จะสังเกตได้ว่าในช่วงที่ตลาดอยู่ในสภาวะตลาดปกติ ก่อนจะเกิดวิกฤติ Covid-19


- เมื่อ SET ปรับตัวลดลงทำให้ความต้องการลงทุนในตลาดหุ้นไทยลดลง นักลงทุนต่างชาติถอนเงินทุนออกจากประเทศ ส่งผลให้ความต้องการเงินบาทลดลง ค่าเงินบาทจึงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ


- เมื่อ SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการลงทุนในตลาดหุ้นไทยสูงขึ้น นักลงทุนต่างชาติเพิ่มเงินทุน มีความต้องการใช้เงินบาทสูง ค่าเงินบาทจึงแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ


หุ้นอุตสาหกรรมไหนได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์หลังบาทแข็งค่า


กลุ่มที่ได้ประโยชน์: ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีต้นทุนจากเงินสกุลต่างประเทศสูง เช่น กลุ่มสายการบินกลุ่มพลังงานและโรงไฟฟ้า หรือกลุ่ม IT


กลุ่มที่เสียประโยชน์ :มักเป็นกลุ่มที่มีรายได้หลักจากการส่งออก เมื่อได้รับเงินสกุลดอลลาร์มาเมื่อแลกกลับไปเงินบาท จะทำให้ได้รับกำไรลดลง เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหาร หรือกลุ่มเกษตร



รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X