> เคล็ดลับลงทุน >

01 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:53 น.

BVG พร้อมลงเทรด mai ชูหนึ่งในผู้นำแพลตฟอร์มประกันภัยและประกันสุขภาพ

#ทันหุ้น - บริษัท บลูเวนเจอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BVG เดิมชื่อบริษัท อีเอ็มซีเอส ไทย จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 ด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้วเริ่มแรกจำนวน 10 ล้านบาท เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ THRE บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ THREL บริษัท แพคโททอล โซลูชั่น เอสดีเอ็น. บีเอชดี. ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติมาเลเซีย และนายธงไชย ภาณุมาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการระบบแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันด้านการจัดการค่าสินไหมทดแทนรถยนต์ครบวงจร โดยระบบที่ให้บริการคือระบบ EMCS (Electronic Motor Claim Solution) ต่อมาในปี 2560 THRE ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ จาก 25% เป็น 100%ของหุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสในการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับระบบบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากประกันภัยรถยนต์อย่างครบวงจร (ระบบ EMCS)


ลงสนามเทรด

ต่อมาในปี 2564 บริษัทฯ ปรับโครงสร้างการถือหุ้นในกลุ่มเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการแบ่งธุรกิจของบริษัทในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อเตรียมความพร้อมนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)


BVG ประกอบธุรกิจเป็นผู้ออกแบบ พัฒนา และให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากประกันภัยรถยนต์ (ระบบ EMCS) ด้วยประสบการณ์ที่มากกว่า 20 ปี และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ บริษัทฯ ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำในด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจประกันภัยรถยนต์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกกระบวนการบริหารจัดการสินไหมทดแทนของรถยนต์อย่างครบวงจร ตั้งแต่การรับแจ้งอุบัติเหตุซ่อม การพิจารณาสินไหมทดแทน จนถึงกระบวนการปิดจบงานจัดการค่าสินไหมทดแทนรถยนต์


รวมถึงให้บริการระบบแพลตฟอร์มบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจประกันภัยรถยนต์และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีฐานลูกค้าที่เป็นบริษัทประกันภัยมากที่สุดในประเทศ และได้รับความไว้วางใจจากบริษัทประกันภัย34 บริษัท จากบริษัทประกันภัยที่มีการรับประกันภัยรถยนต์ทั้งหมดจำนวน 39 บริษัท


นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้บริการสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่ธุรกิจประกันภัย ผ่านการดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อย 3 บริษัท ที่ BVG ถือหุ้น 100% ได้แก่ บริษัท บลูเวนเจอร์ ทีพีเอ ที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นหนึ่งในผู้นำการให้บริการแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันสำหรับการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและสินไหมทดแทนในกลุ่มธุรกิจประกันสุขภาพ (บริการ TPA)เพื่อให้บริการแก่บริษัทประกันและบริหารจัดการสวัสดิการรักษาพยาบาลให้แก่องค์กรทั่วไปที่บริหารจัดการสวัสดิการพนักงานด้วยตนเองโดยมีเครือข่ายสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกทั่วประเทศมากกว่า 500 แห่ง สามารถใช้ระบบตรวจสอบสิทธิความคุ้มครองของผู้เอาประกันภัยและพนักงานขององค์กรทั่วไปที่บริหารจัดการสวัสดิการพนักงานด้วยตนเอง รวมกันกว่า 8.8 ล้านคน


และยังได้ให้บริการคำปรึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยโดย บริษัท บลูเวนเจอร์ แอคชัวเรียล จำกัด และให้บริการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่องค์กร โดย บริษัท บลูเวนเจอร์ เทคจำกัด อีกด้วย


จึงทำให้ BVG มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และมีศักยภาพความพร้อมสร้างการเติบโตต่อไปในอนาคตได้อีกมาก


ฉายภาพธุรกิจ

สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2565 บริษัทประกันภัยที่ใช้ระบบ EMCS มีกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจำนวน 8 ล้านกรมธรรม์ จากทั้งหมด 8.4 ล้านกรมธรรม์ขณะที่ปี 2564 บริษัทประกันภัยที่ใช้ระบบ EMCS มีกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจำนวน10.7 ล้านกรมธรรม์ จากทั้งหมด 11.0 ล้านกรมธรรม์ ทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบในการแข่งขันและมีโอกาสในการสร้างรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง


บริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดในงวด 9 เดือนแรกปี 2565 อยู่ที่ 41.27% คำนวณจากสัดส่วนระหว่างจำนวนการเคลมประกันรถยนต์ผ่านระบบ EMCS 1.21 ล้านครั้งในงวด 9 เดือนแรกปี 2565 และประมาณการจำนวนการเคลมประกันรถยนต์ในประเทศไทย 2.93 ล้านครั้งในงวด 9 เดือนแรกปี 2565


ขณะที่ปี 2564 บริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 39.91% คำนวณจากสัดส่วนระหว่างจำนวนการเคลมประกันรถยนต์ผ่านระบบ EMCS 1.53 ล้านครั้งในปี 2564 และประมาณการจำนวนการเคลมประกันรถยนต์ในประเทศไทย 3.84 ล้านครั้งในปี 2564

ล่าสุด BVG ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 90 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) จำนวนไม่เกิน 67.50 ล้านหุ้น รวมทั้งสิ้น 157.50 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนรวมไม่เกินร้อยละ 35 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต.ได้นับหนึ่งแบบไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว



รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X