> SET > PTT

11 พฤษภาคม 2023 เวลา 18:37 น.

PTT กำไร Q1/66 ที่ 27,855 ลบ. โต 12% คาดราคาน้ำมันดิบ Q2 เฉลี่ยที่ 77-82 เหรียญ/บาร์เรล

#PTT #ทันหุ้น-บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) หรือ PTT แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ไตรมาส 1/66 มีกำไร 27,854.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไร 24,792.47 ล้านบาท โดยมีกำไรจากากรกดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ หรือ EBITDA จํานวน 104,008 ล้านบาท ลดลง 36,904 ล้านบาท หรือ 26.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 140,912 ล้านบาท 


แม้ว่าจะมี EBITDA  ลดลงในไตรมาส 1/66 เนื่องจากมีขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ลดลง รวมทั้ง มีกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นแม้ว่ามีต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับในไตรมาส 1/66  มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจํา (Non-recurringItems) สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุนประมาณ 100 ล้านบาทโดยหลักจากรายการตัดจําหน่ายสินทรัพย์ จากการสิ้นสุดสัมปทานโครงการบงกชของบริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิ โตรเลียม จํากัด (มหาชน) (PTTEP) สุทธิกับ มีการรับรู้ส่วนลดจากปริมาณที่ผู้ผลิตส่งได้ไม่ถึงปริมาณตามสัญญา (Shortfall) ของ ปตท. ขณะที่ในไตรมาส 1/65  มีผลกําไรประมาณ 900 ล้านบาท โดยหลักจากการรับรู้ส่วนลดจาก Shortfall ของ ปตท. และจากการรับรู้กําไรจากการจําหน่ายเงินลงทุนใน Ichinoseki Solar Power 1 GK ของ GPSC


-กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นโดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดําเนินงานลดลงจากผลขาดทุนสต๊อกนํ้ามันในไตรมาสนี้ ซึ่งผลขาดทุนของทั้งกลุ่ม ปตท. เพิ่มขึ้นประมาณ 34,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/65 แม้ว่า Market GRM เพิ่มขึ้นจาก 6.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1/65   เป็น 8.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1/66  จากส่วนต่างราคานํ้ามันดีเซล นํ้ามันอากาศยาน และนํ้ามันเบนซิน กับนํ้ามันดิบปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณขายเพิ่มขึ้น ในส่วนของผลการดําเนินงานของธุรกิจปิ โตรเคมีปรับตัวลดลงจากปริมาณขายที่ลดลง ประกอบกับส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบส่วนใหญ่ปรับลดลง 


-กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่มีราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ตามราคาปิ โตรเคมีในตลาดที่ใช้อ้างอิง ประกอบกับปริมาณขายลดลงรวมถึงต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ สูงขึ้นตามราคาก๊าซฯ ในอ่าวที่ปรับเพิ่มขึ้น ในส่วนของธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีผลการดําเนินงานลดลงจากการปรับอัตราค่าผ่านท่อตามมติคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2565 เป็นต้นมาแม้ว่าธุรกิจจัดหาและจัดจําหน่ายก๊าซฯ มีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นจากกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมที่ราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นมากกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาอ้างอิง 


-กลุ่มธุรกิจสํารวจและผลิตปิ โตรเลียมมีผลการดําเนินงานเพิ่มขึ้นตามปริมาณการขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และผลการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจใหม่


-โครงสร้างพื้นฐานปรับตัวดีขึ้นจากผลการดําเนินงานของธุรกิจยา และผลการดําเนินงานของ GPSC ที่เพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้า SPP ที่ค่า Ft ปรับตัวสูงขึ้น 


**มองราคาน้ำมัน Q2/66


เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566  มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากไตรมาส 1/66 จากภาวะการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการดําเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยูโรโซนเพื่อดูแลเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงให้กลับสู่กรอบเป้าหมาย และสถานการณ์ความตึงเครียดในภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังเปิดประเทศท่ามกลางการดําเนินมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาครัฐ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจทยอยปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงอ่อนแอ และการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก


ตามรายงานของ S&P Global ณ เดือน เม.ย. 2566 ความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปี2566 คาดว่าจะขยายตัว 2.2 MMBD จากปี 2565 ไปอยู่ที่ระดับ 101.9 MMBD ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และความต้องการใช้ในประเทศจีนที่จะทยอยกลับมาหลังการยกเลิกนโยบาย Zero-COVID และการเปิดประเทศ อย่างไรก็ตามกลุ่ม OPEC+ ประเมินว่าตลาดยังมีอุปทานส่วนเกินอยู่มาก จึงประกาศแผนลดการผลิตน้ำมันเพิ่มเติม อีก 1.16 MMBD ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ธ.ค.2566 จากเดิมที่มีนโยบายการลดกําลังการผลิตที่2 MMBD ประกอบกับรัสเซียประกาศขยายแผนลดปริมาณผลิต จํานวน 0.5 MMBD ตั้งแต่เดือนมี.ค.ไปจนถึงสิ้นปี

เช่นกัน เพื่อให้ปริมาณน้ำมันดิบเข้าสู่สมดุลมากขึ้น 


ทั้งนี้คาดว่าราคานํ้ามันดิบในไตรมาส 2/66  จะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 77 - 82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และค่าการกลั่นอ้างอิงสิงคโปร์จะเฉลี่ยอยู่ที่ 3.0 - 4.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล


ส่วนราคาผลิตภัณฑ์ปิ โตรเคมีสายโอเลฟิ นส์ในไตรมาส 2/66 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากความต้องการซื้อสินค้าปลายทางของผู้บริโภคที่คาดว่าจะยังคงอ่อนแอ ประกอบกับอุปทานในภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สายอะโรเมติกส์ในไตรมาส 2/66  มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการแนฟทาที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต Gasoline 


 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหาความขัดแย้งและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศ การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในกลุ่มประเทศ OPEC และชาติพันธมิตร จนถึงสิ้นปี 2566 และเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ส่งผลให้ไตรมาส 1 ปี 2566 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้ (EBITDA) ที่ 104,008 ล้านบาท ลดลง 36,904 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.2 จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่จำนวน 140,912 ล้านบาท


โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ ปตท. ดำเนินการเอง เช่น กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ที่มีราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ตามราคาปิโตรเคมีในตลาดที่ใช้อ้างอิง ประกอบกับปริมาณการขายลดลงและต้นทุนค่าเนื้อก๊าซสูงขึ้น สำหรับกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามปริมาณการขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ มีผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทย่อยในไตรมาส 1 ปี 2566 มีกำไรสุทธิจำนวน 27,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,063 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 จากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่จำนวน 24,792 ล้านบาท 

          

ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ ยึดมั่นพันธกิจสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมเป็นแรงสำคัญขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และประเทศให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 – 2565 ได้ใช้งบประมาณกว่า 20,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาผลกระทบของภาคประชาชนจากวิกฤตโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาทิ การสำรองน้ำมัน  4 ล้านบาร์เรล การตรึงราคา NGV การช่วยเหลือราคา LPG แก่หาบเร่แผงลอยผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ   การสนับสนุนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และการขยายเทอมการชำระเงินแก่ กฟผ. เพื่อลดภาระค่า FT เป็นต้น 

          

ทั้งนี้ ปตท. เร่งเดินหน้ากลยุทธ์ “ปรับ เปลี่ยน ปลูก” เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2583 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายใน ปี 2593 ด้วยการทำงานเชิงรุก ปรับกระบวนการผลิต พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ พร้อมเปลี่ยน สู่ธุรกิจพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายสู่ธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการ  ปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่า ส่งเสริมอาชีพ และรายได้ของชุมชนในพื้นที่ ในอนาคตพื้นที่ป่าเหล่านี้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 4.15 ล้านตัน/ปี 

           

“ปตท. มุ่งมั่นดำเนินงานในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย สนับสนุนการใช้พลังงานแห่งอนาคต สร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าสมบูรณ์แบบ พร้อมศึกษาพลังงานไฮโดรเจน และพลังงานหมุนเวียน เพื่อเป็นแรงสำคัญขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพลิกฟื้นผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ นำพาประเทศบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายอรรถพล กล่าวเสริม 



รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X