17 กันยายน 2023 เวลา 12:00 น.
#ทันหุ้น - ผ่านไปแล้วกับการประชุม ECB ในสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์หน้าเป็นรอบของการประชุม FOMC กับ BOJ และนอกจากการประชุมธนาคารกลางแล้ว เราต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระทบตลาดหุ้นไทยอย่างไรในสัปดาห์ที่ 18-22 ก.ย.66 เราวิเคราะห์ให้ในบทความนี้
1.ตัวเลขเศรษฐกิจในและต่างประเทศ
สัปดาห์หน้ามีโอกาสที่นักลงทุนคลายความกังวลประเด็น FED อาจไม่ยุติการขึ้นดอกเบี้ย เพราะคาดยอดขออนุญาตก่อสร้างสหรัฐฯและยอดสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ ออกมาลดลงจากครั้งก่อน บ่งชี้แนวโน้มภาคการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว กดการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างและตลาดแรงงานมีโอกาสผ่อนคลายลงจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์คาดเพิ่มสูงขึ้น สร้างโอกาสให้เงินเฟ้อสหรัฐฯขยายตัวลดลง เป็นปัจจัยเข้ามาหนุนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ตัวเลขเศรษฐกิจที่เข้ามาหนุนตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าอย่าง PMI(เป็นการสำรวจผู้ประกอบการ จาก 5 ปัจจัยและให้ความสำคัญดังนี้ 1.คำสั่งซื้อใหม่ 2.ผลผลิต 3.การจ้างงาน 4.เวลาขนส่งของวัตถุดิบ 5.สินค้าคงคลังวัตถุดิบ)ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น ,ยูโรโซน ,และสหรัฐฯ คาดเพิ่มสูงขึ้น ยกเว้น PMI ภาคบริการสหรัฐฯและญี่ปุ่นที่ชะลอการขยายตัวเล็กน้อย รวมทั้งคาดมูลค่าการนำเข้าญี่ปุ่นหดตัวมากขึ้น แต่ได้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯคาดหดตัวลดลงช่วยหนุน บ่งชี้ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจฟื้นตัว สร้างโอกาสให้ภาคการส่งออกไทยกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง หนุนหุ้นกลุ่มส่งออกอย่าง CPF, EPG, DELTA, GPFT, KCE, HANA, TU
2.ผลการประชุม FOMC
วันที่ 21 ก.ย.66 เวลา 01:00น.(เวลาไทย) ลุ้นผลการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ปี 66 คาด FED ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25-5.50% แต่มีโอกาสส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ครั้งที่ 7 ในวันที่ 2 พ.ย.66(เวลาไทย) เพราะCPI สหรัฐฯ ส.ค.66 ขยายตัว 3.7% และ PCE สหรัฐฯ ก.ค.66 ขยายตัวแตะ 3.3% มากกว่าเป้าหมายเฉลี่ยที่ 2% และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง แม้ตลาดแรงงานสหรัฐฯเริ่มผ่อนคลายลง เสี่ยงเงินไหลออกจากตลาดหุ้น จากแนวโน้มผลตอบแทนเงินฝากสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น กดดันการลงทุนตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้การประชุม FOMC รอบนี้จะมีการประกาศคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจอย่าง GDP ,อัตราการว่างงาน ,PCE ,และอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ซึ่งบ่งชี้แนวโน้มความเข้มงวดในการใช้นโยบายการเงินของ FEDหากเห็นแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดต่อ เสี่ยงนักลงทุนเกิดความกังวลการลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น
3.ผลการประชุม BOJ
นอกจากการประชุม FOMC เรายังต้องตามต่อกับการประชุม BOJ ในวันที่ 22 ก.ย.66 เวลา 10:00น. คาดใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายพิเศษด้วยการคงดอกเบี้ยที่ -0.1% ทั้งนี้สิ่งที่ต้องติดตามคือ BOJจะมีการส่งสัญญาณการยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษหรือไม่ หลัง CPI ก.ค. 66 ญี่ปุ่นขยายตัวแตะ 3.3% มากกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของ BOJ ที่ 2% หากมีการส่งสัญญาณยุติการใช้นโยบายผ่อนคลายพิเศษเสี่ยงนักลงทุนกังวลเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัว จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น กดกิจกรรมทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นคู่ค้าที่สำคัญของไทยกระทบภาคการส่งออกไทยอาจหดตัวมากขึ้น ซึ่งสัดส่วนภาคการส่งออกมีมูลค่าประมาณ 60-70% ของ GDP ไทย กดเศรษฐกิจไทยชะลอตัว กระทบนักลงทุนชะลอการลงทุน
สรุป
สัปดาห์หน้าตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจที่คาดออกมาฟื้นตัว เป็นปัจจัยที่เข้ามาหนุน SET50 ให้มีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่วนปัจจัยต้องระวังผลการประชุม FOMC และ BOJหากมีการส่งสัญญาณแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจะเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดัน SET50 แต่ถ้าไม่จะเป็นโอกาสให้ S50U23 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
กลยุทธ์การลงทุน S50U23 ฝั่งซื้อ เมื่อราคาทะลุ 950 จุด เป้าหมาย 960-970 จุด จุดตัดใจสิ้นวัน 938 จุด,ในวัน 933 จุด เริ่มต้นการลงทุนวางหลักประกัน 6,055 บาทเท่านั้น
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_
LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม