20 พฤศจิกายน 2023 เวลา 10:32 น.
#GDP #ทันหุ้น - สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลง GDP ไตรมาส 3/66 ขยายตัว 1.5% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 2.2-2.4% และขยายตัว 0.8% เทียบกับไตรมาส 2/66 (คาด 1-1.2%) จากการส่งออกที่ชะลอตัวลง และการเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือที่ลดลง 1.87 แสนล้านบาท
บล.ธนชาต มอง GDP ไทยที่ต่ำกว่าคาด หลักๆ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือที่ลดลงมาก หากดูด้านการบริโภคยังถือว่าสามารถขยายตัวได้แข็งแกร่ง และมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องไปยัง 4Q23F จาก High season ของภาคการท่องเที่ยวและบริโภค รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ นอกจากนี้ GDP ที่ต่ำคาด ทำให้เรามองว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ กนง. จบรอบดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน แนะนำ “ซื้อ” กลุ่มท่องเที่ยว-บริโภค ชอบ AOT CPN CPALL และกลุ่ม Micro Finance ชอบ MTC TIDLOR SAWAD
บล.ลิเบอเรเตอร์ ระบุว่า แม้ว่าตัวเลข GDP ไตรมาส 3/66 ของไทยจะต่ำคาด ซึ่งอาจทำให้ GDP ไทยปีนี้ของตลาดมี Downside เล็กน้อย แต่ก็ยังเห็นการฟื้นตัวจากภาคการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน ผสานกับแนวโน้มด้านการส่งออก และท่องเที่ยวที่จะแข็งแกร่งมากขึ้นในปีหน้า ซึ่งจะช่วยหนุน GDP ปีหน้าคาดยังสามารถเติบโตได้มากขึ้น ดังนั้นจังหวะตลาดย่อตัวอาจเป็นโอกาสในการทยอยสะสม เน้นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม, การบริโภค และการท่องเที่ยว
บล.เอเซียพลัส ระบุว่า แม้ภาพรวมจะโตน้อยจากแรงกดดันภาคการส่งออกสินค้า (-3.1%) และการใช้จ่ายภาครัฐ (-4.9%) แต่การขยายตัว GDP ไทย 3Q66 หลักๆ มาจากการบริโภค (+8.1%) – CPALL DOHOME TAN CRC BJC CPAXT การลงทุนรวม (+1.5%) – WHA AMATA และการส่งออกบริการ (23.1%) – ERW CENTEL MINT
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้น้อยลงจากไตรมาสก่อน น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ภาครัฐเห็นถึงความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
ในช่วงที่เหลือของปีนี้ และปี 2567 คาดหวังแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภาคเอกชน บวกกับภาคการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันยังต้องกระตุ้นการส่งออก รวมถึงดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย และต้องเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ
บล.กสิกรไทย ระบุว่า GDP ไทยอ่อนแอกว่าคาดในไตรมาส 3/66 ปัจจัยกดดันสำคัญมาจากการส่งออกสุทธิที่อ่อนแอ และการใช้จ่ายภาครัฐ ในปีนี้ไม่มีเงินโอนที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 แนวโน้มอาจยังคงซบเซา เนื่องจากกระบวนการอนุมัติงบประมาณการคลังล่าช้าไปจนถึงเดือนเมษายน 2567
การลงทุนฟื้นตัวเล็กน้อย ส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 3.1% YoY ในขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง 2.6% YOY จากรัฐวิสาหกิจ การส่งออกยังคงลดลง 3.1% YOY ในไตรมาส 3/2566 โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะมีสัญญาณของการฟื้นตัวเล็กน้อยในช่วงปลายไตรมาส โมเมนตัมการฟื้นตัวดูช้ากว่าคาด
สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 66 คาดขยายตัว 2.5% จากครั้งก่อนคาดโตในช่วง 2.5-3.0% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.0% ของ GDP
ประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัว 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.2% และ 2.8% ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.8% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.7 - 2.7% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5% ของ GDP
สภาพัฒน์ฯแถลง เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่สองของปี 2566 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2566 ร้อยละ 0.8 (%QOQ SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.9
ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้า การอุปโภคของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์สูง สาขาเกษตรกรรม สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการก่อสร้างขยายตัว ส่วนสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่อง
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ค่าดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ มูลค่า
การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 3.8 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 - 2.7 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_
LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม