#GULF #ทันหุ้น - บล.บัวหลวงวิเคราะห์หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าระบุว่า หลายคนกล่าวว่าประเทศไทยมีกำลังการผลิตส่วนเกินมากแล้ว แต่พวกเขาคิดผิด! หากไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ อาจเกิดไฟฟ้าดับได้ในอนาคต บล.บัวหลวงชอบ GULF มากที่สุดในกลุ่ม
เพื่อลดโลกร้อน เราต้องมีกำลังการผลิตจากพลังงานสะอาดอีก
ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดเป็น 30% ของการผลิตไฟทั้งหมดภายในปี 2579 โดยบนสมมติฐานที่การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 2% ต่อปีเป็น 250 เทระวัตต์ชั่วโมงในปี 2579 (216 เทระวัตต์ชั่วโมงในปี 2565) พลังงานสะอาด (รวมถึงการนำเข้าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลาว) จะต้องเพิ่มขึ้น จาก 51 เทระวัตต์ชั่วโมงในปี 2565 ไปเป็น 76 เทระวัตต์ชั่วโมงในปี 2573ซึ่งหมายความว่าจะต้องสร้างกำลังการผลิตพลังงานสะอาดใหม่อีก 6 - 18 กิกะวัตต์ (ขึ้นอยู่กับแหล่งผลิต) ด้วยเหตุนี้ เราจึงยังคงคาดหวังว่า PDP ถัดไปจะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานสะอาดใหม่หลายกิกะวัตต์ โดย กกพ. ควรเปิดให้ประกวดราคาสำหรับฉบับใหม่นี้ในปี 2567
อัตราการใช้ไฟสำรอง 43%ไม่พอในช่วงอุปสงค์พีค
กำลังการผลิตตามสัญญาของ กฟผ. อยู่ที่ 48.8กิกะวัตต์ ณ สิ้นเดือน ก.ย. ในขณะที่ความต้องการสูงสุดในปี 2566 อยู่ที่ 34.1 กิกะวัตต์ คิดเป็นอัตราสำรองจำนวนมากที่ 43% โดยปกติอัตราสำรองที่เหมาะสมคือ 15-20% ดังนั้นจึงถือว่าประเทศไทยมีกำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมาก แต่ความต้องการสูงสุดในปี 2566คือวันที่ 6 พ.ค. เวลา 21:41 น. ในเวลานั้น พลังงานทดแทนยังใช้ไม่ได้เกือบทั้งหมด (ไม่มีแสงอาทิตย์หลังพระอาทิตย์ตก โรงไฟฟ้า HPP สามารถสร้างกำลังการผลิตได้เพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูร้อน และการเกิดลมไม่สามารถคาดเดาได้) ดังนั้นอัตราสำรองที่ 43% (คำนวณโดยสูตรธรรมดา) จึงไม่มีความหมาย เราประเมินอัตราสำรองที่มีประสิทธิผลของประเทศไทยที่เพียง 18% เมื่อมีความต้องการสูงสุดในเวลากลางคืน (เราใช้สมมติฐานว่าโรงไฟฟ้า HPP สามารถดำเนินการได้ที่ประมาณ 30% ของกำลังการผลิตในฤดูร้อน ในขณะที่พลังงานลมนั้นค่อนข้างน้อยและคาดเดาไม่ได้)
คำเตือน! การเปลี่ยนไปสู่ยุค EV อย่างรวดเร็วอาจทำให้ไฟฟ้าไม่พอ
กำลังการผลิตไฟพลังความร้อนประมาณ 10 กิกะวัตต์จะปลดระวางในช่วงปี 2566-71บนสมมติฐานที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเติบโตด้วยอัตราการเติบโตสะสมเฉลี่ยอยู่ที่ 3% ระหว่างปี 2567 -80 (เทียบกับอัตราการเติบโตสะสมเฉลี่ยจริงปี 2561-66 ที่ 3.8%) อัตรากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่แท้จริง ณ การความต้องการไฟฟ้าสูงสุดจะลดลงจาก 18% ในปี 2566เหลือเพียง 3% ในปี 2571 ทั้งนี้ EV หนึ่งคันจะต้องการไฟฟ้าในการชาร์จที่ 5-10 กิโลวัตต์ ดังนั้นการนำ EV มาใช้จำนวนมากอย่างรวดเร็วอาจทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะไฟดับได้ (หาก EV เพียง 100,000 ค้นซาร์จไฟฟ้าพร้อมกันในเวลา 21:00 น. จะทำให้ความต้องการสูงสุดเพิ่มขึ้น 500-1,000 เมกะวัตต์) และปัญหาทางการเงินของ กฟผ. ก็จำกัดความสามารถในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่โดยไม่ขึ้นราคาค่าไฟ เราประมาณการค่าความพร้อมจ่าย (AP) สำหรับโรงไฟฟ้า IPP เพียง 0.02 บาท/กิกะวัตต์ ซึ่งเป็นราคาค่าไฟที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
โรงไฟฟ้าก๊าซยังจำเป็นต่อความมั่นคงของโครงข่ายไฟฟ้า
แหล่งพลังงานสะอาดส่วนใหญ่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงเวลาพีค ซึ่งทำให้ก๊าซยังมีความจำเป็น (ปัจจุบันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ เนื่องจากการต่อต้านของประชาชน) และสัญญาโรงไฟฟ้า IPP ช่วยให้ กฟผ. มีความยืดหยุ่นในการซื้อไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนและรับไฟจากโรงไฟฟ้า IPP เมื่อช่วงเวลาจำเป็นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราเชื่อว่ารัฐบาลจะเปิดประมูลกำลังการผลิตโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ในปี 2567 ดังนั้นราคาหุ้นของกลุ่มโรงไฟฟ้า IPP (EGCO RATCH และ GULF) อาจจะปรับตัวขึ้นอย่างน่าประทับใจในปีหน้า
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_
LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม