> เคล็ดลับลงทุน >

13 พฤษภาคม 2024 เวลา 14:06 น.

ไกลแค่ไหนคือใกล้ (How Far is “Not Far”)

#Investment-Focus by KTAM -เงินเฟ้อตึงตัวทำให้ดอกเบี้ยอาจไม่ลดเร็วอย่างที่ตลาดหวังไว้ ภาพของเดือน เม.ย. จึงเป็นภาพของการปรับความคาดหวังเรื่องดอกเบี้ย ตลาดตราสารหนี้ Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง ซ้ำเติมด้วยประเด็นสงครามที่เข้ามาสั่นสะเทือนตลาดในช่วงสั้นๆ ก่อนจะเลือนหายไป ส่วนท้ายเดือนตลาดฟื้นตัวขึ้นมาบ้างจากประเด็นผลประกอบการไตรมาส 1 และเสียงที่เงียบไปของ Fed ในช่วง Silent Period


ประเด็นในเดือน เม.ย. อยู่ที่เรื่องดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ที่สูงกว่าคาด ทำให้ Fed เปลี่ยนท่าทีจากที่เคยระบุว่าอีกไม่นานจะลดดอกเบี้ย (Not far) เป็นการคงดอกเบี้ยนานเท่าที่เหมาะสม (As long as appropriate) จากเงินเฟ้อขาดพัฒนาการในทางที่ดี ตลาดจึงได้ปรับลดความหวังการลดดอกเบี้ยลงเหลือแค่ครั้งเดียวในปีนี้ 


ตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนสูงและปรับตัวลดลง ส่วนตราสารหนี้ UST Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามมุมมองดอกเบี้ยที่เลื่อนออกไป ขณะที่ GDP ฝั่งสหรัฐฯ เริ่มเห็นการชะลอตัวลงในไตรมาส 1


IMF มีการปรับประมาณการ GDP Growth ปี 2024 ใหม่ โดยเศรษฐกิจโลกยังเติบโตอยู่ และมีการปรับประมาณการขึ้นเล็กน้อยจากประมาณการณ์รอบ ม.ค. ในรายประเทศสหรัฐฯ และอินเดียปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจีนและญี่ปุ่นยังคงไว้เท่าเดิม แต่ยุโรปถูกปรับประมาณการลดลงสำหรับปีนี้


ในฝั่งเอเชียประเด็นสำคัญอยู่ที่เศรษฐกิจจีนที่ประกาศตัวเลข PMI ที่ยังขยายตัวอยู่ และการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ออกมาที่ 5.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ส่วนญี่ปุ่นภาพเศรษฐกิจยังไม่ดีอย่างที่คาดไว้ เงินเฟ้อขยายตัวน้อยกว่าที่ BoJ คาด ส่วนเรื่องดอกเบี้ย BoJ ยังคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ส่งผลต่อค่าเงินเยนให้ยิ่งอ่อนค่าลงไปอีก 


ส่วนเวียดนามที่ยังเผชิญปัญหาทางการเมืองตลอดเดือน เม.ย. จากประเด็นการทุจริตของประธานาธิบดี ตามด้วยประธานสภาฯ ซึ่งค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในพรรค โดยประเด็นปัญหานี้ค่อนข้างคลี่คลายไปมากเนื่องจากทั้งสองคนออกจากตำแหน่งแล้ว ในฝั่งของไทยในช่วงต้นเดือน กนง. มีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.50% และส่งสัญญาณแรงว่าการจะไม่ลดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นไปตามที่คาด


ตลาดหุ้นทั่วโลก (MSCI ACWI) ปรับตัวลดลง 3.3% ในเดือน เม.ย. มาจากกลุ่ม DM เป็นหลัก นำโดยตลาดสหรัฐฯ ที่สะดุดตัวลงหลังจากปรับตัวขึ้นมาได้ดีในช่วงไตรมาส 1 จากประเด็นดอกเบี้ย โดยตลาดปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือน ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายเดือนหลังจากที่ผลประกอบการไตรมาส 1 เริ่มทยอยออกมาหนุนตลาด และ Fed เข้าสู่ Silent Period ทำให้ความผันผวนจากประเด็นดอกเบี้ยเงียบไปช่วงสิ้นเดือน โดย NASDAQ ลดลง 4.4% และ S&P500 ลดลง 4.1% 


ฝั่งยุโรปเงินเฟ้อมีพัฒนาการลดลงดีกว่า และภาคบริการที่ค่อยๆ ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้ ECB มีท่าทีที่มั่นใจกว่าในการลดดอกเบี้ย ซึ่งตรงกับความคาดหวังของตลาดที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบ มิ.ย. ทำให้ตลาดฝั่งยุโรปดูจะผันผวนน้อยกว่า และปรับตัวลดลงน้อยกว่าฝั่งสหรัฐฯ โดย Stoxx50 และ Stoxx600 ปรับตัวลดลง 2.4% และ 1.8% ตามลำดับ 


ฝั่งเอเชีย เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่เป็นไปตามเป้าของ BoJ โดย Nikkei225 หลังจากทำ New High ในไตรมาสที่ 1 ก็ปรับตัวลงแรง 4.9%


กลุ่ม EM เริ่มจากจีนที่ดูสดใสกว่าเมื่อเทียบกับฝั่งตะวันตก ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมายังคงดีอยู่ และในเชิง Technical หลังจากที่ Side way มาตลอดทั้งเดือนก็สามารถผ่านแนวต้านไปได้ โดยทั้ง CSI300 และ Hang Seng ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.0% และ 7.4% ตามลำดับ 


ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลงแรงจากประเด็นการเมือง VNI ปรับตัวลดลง 5.8% ส่วนอินเดียเข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งแล้ว และ GDP มีการปรับประมาณการขึ้นในปีนี้ แต่ตลาดยังคง Side way อยู่ในกรอบยังไม่ทำ New High ใหม่ SENSEX ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1% 


สุดท้ายตลาดหุ้นไทยผันผวนมากในเดือนนี้เริ่มจากปรับตัวขึ้นแรงก่อนการประชุม กนง. แต่ก็ปรับตัวลงแรงหลังจากผิดหวังผลการประชุมที่คงดอกเบี้ย ก่อนจะค่อยๆ Rebound กลับขึ้นมาในช่วงสิ้นเดือน SET ไม่เปลี่ยนแปลง 0.0% (ที่มา Bloomberg: ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2567)


ตลาดตราสารหนี้ไทย Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลัง กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย และมีท่าทีจะคงดอกเบี้ยตลอดทั้งปี โดยในเดือน เม.ย. Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในกลุ่ม Duration ยาว (>1ปี) ในขณะที่ Yield กลุ่ม Duration สั้น (<1ปี) ปรับตัวลดลง 


นอกจากนี้ Yield พันธบัตรไทยยังโดนกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติทำให้ Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเรามองว่า Yield พันธบัตรไทยใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว 


เราจึงยังมีมุมมอง “เป็นกลาง” สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย โดยทยอยสะสมเพิ่ม Duration ระยะยาวจาก Yield ที่สูง ราคาที่ถูก และพร้อมสำหรับการปรับดอกเบี้ยลง จึงมีการปรับเพิ่มสัดส่วน KTFIXPLUS (ระดับความเสี่ยง 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 50 และลดสัดส่วน KTSTPLUS


ตราสารทุนไทยเรามองว่า SET ณ ตอนนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติม ตลาดยังคงปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ, หุ้นหลายตัวยังคงจ่ายปันผลอยู่, ตัวเลขเศรษฐกิจยังออกมาลดลง และแม้งบประมาณจะเริ่มเบิกจ่ายได้แล้วแต่ก็ยังไม่มีนโยบายใหม่ๆ เข้ามาเป็น Sentiment บวก 


 เรามองว่าตลาดน่าจะยังคง Side way ในช่วงนี้ แต่ในเชิง Valuation ตลาดหุ้นไทยถือว่าไม่แพง และยังมี Upside อีกมากเมื่อเทียบกับ Earning Forecast ของปี 2024 จึงมีมุมมอง “เชิงบวก” โดยมีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักให้ KT-HiDiv (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีประวัติการจ่ายปันผลที่ดี สม่ำเสมอ 


และ KTMSEQ (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดกลางและ/หรือขนาดเล็กที่จดทะเบียนใน SET และ/หรือ mai ในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจ โดยจัดเป็น Core Portfolio ซึ่งมีน้ำหนัก KTMSEQ เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ และมี KTSF (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคง และให้ผลตอบแทนที่ดี โดยจัดเป็น Satellite Portfolio เพื่อกระจายความเสี่ยงในระยะสั้น


สำหรับตราสารทุนต่างประเทศเรายังคงมีมุมมอง “เป็นกลาง” โดยในรายประเทศฝั่งสหรัฐฯ ความกังวลเรื่องดอกเบี้ยกลับมาสร้างความผันผวน  แม้ว่าจะมีประเด็น Earning Surprise จากผลประกอบการไตรมาส 1/2024 เข้ามาเป็น Momentum ช่วยพยุงตลาดได้บ้าง แต่ประเด็นเรื่องผลประกอบการก็อาจสร้างความผิดหวังได้เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่ม Big Tech ที่ตลาดเห็น Earning ที่ดีต่อเนื่องมาหลายไตรมาส ความคาดหวังเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผลประกอบการที่ออกมาอาจผิดหวังได้จากปัจจัยเล็กๆ แม้ว่างบโดยรวมจะดี 


นอกจากนี้ ตลาดสหรัฐฯ ยังคงมีความผันผวนสูง เราจึงแนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนใน KT-US มาลงทุนใน KT-EUROSM (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Invesco Continental European Small Cap Equity Fund (กองทุนรวมหลัก) เพียงกองเดียว โดยกองทุนรวมหลักจะเน้นลงทุนในบริษัทขนาดเล็กในภูมิภาคยุโรป แต่ไม่รวมสหราชอาณาจักร หรือ ex UK  


และแบ่งส่วนหนึ่งมาเพิ่มการลงทุนใน KT-WEQ (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน AB Low Volatility Equity Portfolio (กองทุนหลัก) ที่มีกลยุทธ์ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความผันผวนต่ำ โดยลงทุนในหุ้นที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก รวมถึงกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ 


โดย KT-EUROSM ที่ Momentum ยังดีอยู่ยังไม่ได้ปรับตัวลงแรงเหมือนฝั่งสหรัฐฯ และความผันผวนจากประเด็นดอกเบี้ยน้อยกว่า ECB มีท่าทีมั่นใจกว่าในการลดดอกเบี้ย โดยมองไปถึง Earning growth ปีหน้าที่ค่อนข้างสูง และต่างจาก Earning growth ปีนี้มาก แต่ก็ยังมองว่ามีโอกาสที่ Earning ฝั่งสหรัฐฯ จะออกมาดีจาก GDP ที่ยังเติบโตแม้จะชะลอลง จึงเพิ่มการลงทุนบางส่วนใน KT-WEQ ซึ่งเป็นเสมือน Core Portfolio ของเรา


คำเตือน กองทุนมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (ยกเว้น KT-HiDiv, KTMSEQ และ KTSF) ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน



คอลัมน์: Investment-Focus by KTAM

โดย: ดร. สมชัย อมรธรรม

              วัชรพัฐ มาแสง

               บลจ. กรุงไทย

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X