นายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER รายงานไตรมาส 1 ปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ จำนวน 20 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน จำนวน 863 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 102.4 (สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 มีผลขาดทุน 843 ล้านบาท) เนื่องจากในไตรมาส 1 ปี 2567 กลุ่มบริษัทมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตและการตั้งสำรองการลดลงของมูลค่าสินค้า และ สินค้าล้าสมัยในสินค้าดงเหลือ ที่ลดลงอย่างมีสาระสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
@รายได้ลด 29.9%
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 รายได้รวมของกลุ่มบริษัทฯ ลดลงจำนวน 264 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.9
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
โดยรายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทฯ ลดลงจำนวน 53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ26.1 ตามลำดับ การลดลงที่สำคัญมาจากการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลง จำนวนพนักงานขายแฟรนไชส์ลดลงและเนื่องจากบริษัทย่อยมีการเปลี่ยนนโยบายในการปล่อยสินเชื่อให้มีความเข้มงวดมากขึ้นดังที่กล่าวไว้แล้วนั้น เพื่อดวบคุมคุณภาพหนี้
บริษัทมีรายได้จากการขายแบบเช่าซื้อลดลงเป็นจำนวนเงิน 70ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.1 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว
@ ต้นทุนขายลด-กลับสำรอง
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 ต้นทุนขายลดลง จำนวน 480 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในระหว่างปีบริษัทได้มีการกลับรายการตั้งสำรองค่าเผื่อการปรับลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ จำนวน 56 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 166 ล้านบาท คือต้นทุนสินค้าที่ขาย ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีการตั้งสำรองค่าเผื่อการปรับลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ จำนวน 423 ล้านบาท จากการที่ฝ่ายบริหารพบว่ามีการลดลงอย่างมากของราคาขายของสินค้ามือสอง รวมถึงการล้าสมัยและการเสียหายของสินค้าคงเหลือจากการตรวจนับสินค้าทั้งหมด ทั้งสินค้ามือหนึ่ง และ สินค้ามือสอง รวมถึงสินค้าที่จัดเก็บที่สาขา และคลังสินค้าของบริษัท
@ ดอกเบี้ยรับเช่าซื้อกู้ยืมลด 33.4%
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 ดอกเบี้ยรับจากสัญญาเช่าซื้อและเงินให้กู้ยืมของกลุ่มบริษัทฯ ลดลงจำนวน 214 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 สืบเนื่องจากการที่บริษัทย่อยมีนโยบายการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นและจากการตัดหนี้สูญลูกหนี้สินเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าด้อยคุณภาพเมื่อปีก่อน ทำให้พอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงมากส่งผลต่อการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 82 จากงวดเดียวกันของปีก่อน
อย่างไรก็ตามรายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาสินเชื่อรถทำเงินและสัญญาสินเชื่อสวัสดิการพนักงานมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11 จากงวดเดียวกันของปีก่อน
@ SG&A-ต้นทุนการเงินลด
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 ต้นทุนในการจัดจำหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงจำนวน 93 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 26.3 โดยต้นทุนในการจัดจำหน่ายลดลงจำนวน 92 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายที่ลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 1 ล้านบาท และบริษัทยังมีนโยบายในการลดต้นทุนในการจัดจำหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหารอย่างต่อเนื่อง
ส่วนต้นทุนทางการเงินลดลงจำนวน 30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30.0 เนื่องจากบริษัทมีการจ่ายคืนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระในระหว่างปี 2566 ถึง ปัจจุบัน ตามที่อธิบายไว้ในหัวข้อหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
@ สำรองลด 819 ล้านบาท
สำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มบริษัทฯ ลดลง 819 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85 เนื่องจากการลดลงของพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าจากการที่บริษัทย่อยมีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของสัญญาเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง ประกอบกับในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีการตั้งประมาณการค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มลูกหนี้สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ออกจากโครงการให้ความช่วยเหลือจากผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนด
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_
LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม