#MFC #ทันหุ้น - MFC เดินหน้ากองทุนบิตคอยน์ขายนักลงทุน UI เผยอยู่ระหว่างของ ก.ล.ต.อนุมัติ มองเป็นสินทรัพย์ลงทุนมีอนาคตจากซัพพลายที่จำกัด ขณะที่การเปลี่ยนเจนผู้ลงทุนก็ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลเกิดได้ แต่ยอมรับมีความผันผวนสูงหากจะเริ่มลงทุน แนะ 1-3%ของพอร์ตลงทุนรวม ส่วนรับเสี่ยงได้สูง ถือ 3-5%ขอบงพอร์ตลงทุนรวมได้
นายเชาวน์กร โชติบัณฑ์ Head of Investment Strategy บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า MFC อยู่ระหว่างขออนุญาตสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายกองทุนบิตคอยน์ (Bitcoin) โดยกองทุนดังกล่าวจะเข้าไปลงทุนในกองทุน Bitcoin ETF ของต่างประเทศ ซึ่งจะเสนอขายให้กับนักลงทุรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth: UI) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก ก.ล.ต.
“บิตคอยน์ยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงช่วงที่ผ่านมาราคาขึ้นไปถึง 70,000 ดอลลาร์ แต่ก็มีโอกาสปรับตัวลงมาได้มากเช่นกัน ดังนั้นผูลงทุนจึงไม่ใช่พร้อมแค่เรื่องการเงิน แต่ต้องพร้อมในความรู้ในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย"
"ซึ่งเบื้องต้นบิตคอยน์ ถือเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่หากเริ่มต้นลงทุนในสัดส่วน 1-3%ของพอร์ตลงทุนรวม แต่ถ้ารับความเสี่ยงได้มากขึ้น ก็แนะนำสัดส่วน 3-5% ของพอร์ตลงทุนรวม เพราะหากลงทุนในสัดส่วนที่แนะนำ นักลงทุน UI ก็ยังสามารถวางแผนจัดพอร์ต เพื่อสร้างผลตอบแทนรวมให้เป็นบวกได้ แม้อาจขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ตัวนี้ก็ตาม”
ขณะที่ข้อได้เปรียบของการลงทุนผ่านกองทุน คือ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ มีความปลอดภัยมในการลงทุน ไม่ต้องกังวลเรื่องของการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ต้องกังวลว่ารหัสผ่านจะโดนแฮก (Hack) หรือถูกขโมย
*ซัพพลายน้อยหนุน
นายเชาวน์กร กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม MFC มองว่า ในอนาคต 10 ปี 20 ปีข้างหน้า บิตคอยน์ยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก ทั้งเรื่องของซัพพลายที่มีจำกัด มีเพียงแค่ 21 ล้านเหรียญ ปัจจุบันถูกขุดออกมา ราว 19 ล้านเหรียญแล้ว และประเมินว่าจะครบ 21 ล้านเหรียญราวอีก 100 ข้างหน้า หรือ ในปี 2683 (ค.ศ.2140)
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของยุคเจนเนอเรชั่น ซึ่งต้องยอมรับว่าเด็กในยุคปัจจุบัน และยุคหลังจากนี้ มีความคุ้นเคยกับโลกดิจิทัล และสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่าคนในรุ่นอดีต อย่างเช่น ยุค เบเบี้บูมเมอร์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลงทุนหลักในยุคปัจจุบัน และสินทรัพย์ส่วนใหญ่ที่กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ลงทุนก็จะเป็นตราสารหนี้ ทองคำ เป็นต้น แต่เชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านยุค ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า คนในเจนเนอเรชั่นใหม่ที่คุ้นเคยกับโลกดิจิทัลจะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นเหรียญโทเทค
นายเชาวน์กร มองด้วยว่า การขานรับของ ก.ล.ต. สหรัฐที่อนุมัติให้ตั้งกองทุน Bitcoin ETFs จากที่ผ่านมากีดกัน ส่วนหนึ่งก็เพราะไม่สามารถต้านกระแสการลงทุนได้ เมื่อต้านไม่ได้การเข้าไปศึกษา และควบคุมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ จึงเป็นทางออกที่ดีกว่า เพราะในอดีตต้องยอมรับว่า การลงทุนในบิตคอยน์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมฟอกเงิน แต่เมื่อ ก.ล.ต.สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น สามารถเขียนกฎเกณฑ์ กรอบในการดูแลจึงอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นมาได้
ประเมินมูลค่า
*ความผันผวนสูง
นายเชาวน์กร กล่าวถึงการประเมินมูลค่าของ บิตคอยน์ มีหลายวิธี ส่วนหนึ่งก็เป็นการเทียบกับสินทรัพย์ทองคำ เพราะมีคุณสมบัติคล้ายกันคือ มีซัพพลายที่จำกัด ซึ่งเมื่อดีมานด์เพิ่มขึ้น ซัพพลายที่จำกัดก็จะทำให้ราคาขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของ บิตคอยน์ ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สินทรัพย์ดังกล่าวมีความผันผวนสูง ซึ่งกองทุนที่ MFCจะออก นอกจากให้ UI ลงทุนแล้วนั้น ยังมีความเสี่ยงระดับ 8+
สำหรับ คุณสมบัติของ นักลงทุรายใหญ่พิเศษ หรือ UI เช่น จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ในเรื่องเกณฑ์การเงิน จะต้องมีเงินลงทุนตรงในหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท หรือไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท, มีสินทรัพย์สุทธิไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาทไม่นับรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่พักของบุคคลนั้น และ มีรายได้ไม่น้อยกว่า 6 ล้านบาทต่อปี เป็นต้น
ขณะที่เกณฑ์ความรู้คือ มีประสบการณ์ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเป็นประจำ, มี IC license หรือ IP license และ ได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ต่อไปนี้ ได้แก่ CFA, CISA, CAIA และ CFP เป็นต้น
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม