#ทันหุ้น - บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส อ้างถึงรายงาน 246-2 แจ้งการได้มาของหุ้น THAI ของ BBL และ KTB ตามกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุน (ที่มา : SEC)
กระบวนการแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้เป็นไปตามบทวิเคราะห์กลุ่มฯ ฉบับวันที่ 2 ธ.ค. 67 โดยสิ่งที่เพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ฉบับนี้คือ จำนวนหุ้น THAI ที่ KTB ได้รับจากการแปลงหนี้เป็นทุน (ฉบับก่อนนำเสนอของ BBL เป็นหลัก) ตามเอกสารแนบแผนฟื้นฟู (20 ต.ค. 65) พบว่าเจ้าหนี้กลุ่ม 6 (เจ้าหนี้สถาบันการเงินไม่มีประกัน) จำนวน 17 สถาบันการเงิน มี 2 ธนาคารที่ฝ่ายวิจัยจัดทำบทวิเคราะห์ ได้แก่ BBL และ KTB มีการปล่อยสินเชื่อ (รวมดอกเบี้ย) ให้กับ THAI ราว 9.3 พันล้านบาท และ 6.9 พันล้านบาท ตามลำดับ
โดยจำนวนหุ้นที่ KTB ได้รับจากการแปลงหนี้เป็นทุน (ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น สำหรับการแปลงหนี้เป็นทุน) อยู่ที่ราว 1.33 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 5.7% ของหุ้น THAI หลังเจ้าหนี้ใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุน) ประเมินเป็นมูลหนี้ที่ถูกแปลงเป็นทุนราว 3.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.4% ของมูลหนี้ NPL ณ สิ้นงวด Q3/67 (9.8 หมื่นล้านบาท) หากอิงฐานสินเชื่อและมูลหนี้ NPL งวด Q3/67 ภายใต้กระบวนการแปลงหนี้เป็นทุนข้างต้น คาดทำให้สัดส่วน NPL / Loan จะลงมาที่ 3.7% (ณ สิ้นงวด Q3/67 ที่ 3.8%)
ส่วนของ BBL ภายหลังรับมอบหุ้นตามการแปลงหนี้เป็นทุนจำนวน 2.4 พันล้านหุ้น (สัดส่วนราว 10% ของหุ้น หลังเจ้าหนี้ใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุน) ประเมินสัดส่วน NPL / Loan ของ BBL จะลดมาอยู่ที่ประมาณ 3.7% (3.9% ณ สิ้นงวด Q3/67)
ทั้งนี้ NPL / Loan ข้างต้น ทางฝ่ายวิจัยประเมินบนฐานข้อมูล Q3/67 ซึ่งตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงในอนาคต อาจแตกต่างขึ้นอยู่กับการเติบโตของฐานสินเชื่อและการไหลเข้า (หรือเลื่อนชั้น) ของ NPL รายอื่นๆ แม้ฝ่ายวิจัยมองว่า ธ.พ. ไม่น่า Reverse สำรอง (ECL) กลับมา ท่ามกลางการฟื้นตัวอย่างไม่เท่าเทียมกันของเศรษฐกิจไทย แต่มีความเป็นไปได้ว่า ECL ของมูลหนี้ดังกล่าว อาจถูกนำไปเป็นสำรองส่วนเกิน (Management Overlay) คาดการณ์ช่วยให้ BBL, KTB มีกันชนสูงขึ้น (Coverage ratio) ทำให้ความจำเป็นในการตั้งสำรองใหม่ในปีหน้าลดลง ตามความเห็นฝ่ายวิจัย
ขณะที่กระบวนการต่อจากนี้ THAI จะมีการเพิ่มทุน RO ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมก่อนการแปลงหนี้เป็นทุน (หุ้นเดิม : หุ้นใหม่ ที่ 1.00 : 4.50 ราคาจองซื้อ 4.48 บาท) บนกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิเต็มจำนวน สัดส่วนการถือหุ้นของ BBL ใน THAI จะลงมาอยู่ที่ราว 7.4% ของจำนวนหุ้นหลัง RO สอดคล้องกับแผนของธนาคารที่จะถือหุ้นไม่เกิน 10%และ KTB จะมีสัดส่วนการถือหุ้นใน THAI ประมาณ 4% ของจำนวนหุ้นหลัง RO (โครงสร้างการถือหุ้นใน THAI หลังเพิ่มทุนหน้าถัดไป)
คำแนะนำการลงทุนหุ้นในกลุ่มธนาคาร : กลุ่มฯ ให้ Div yield ราว 5% - 8% (VS ค่าเฉลี่ย SET ราว 3%) ถือว่าน่าสนใจสำหรับหุ้นใหญ่ โดยกลุ่ม ธ.พ. ที่ให้ Div yield สูงกว่าค่าเฉลี่ย ยังคงทนทานต่อความผันผวนของราคาหุ้นมากกว่ากลุ่มฯ ชอบ TISCO / SCB ที่คาดหมาย Div Yield ราว 8% มากกว่า TTB > KKP ส่วนกลุ่ม ธ.พ. ที่คาดปีนี้ Div Yield ยังไม่เท่ากลุ่มข้างต้นและวัฎจักรดอกเบี้ยมีผลกระทบกว่ากลุ่มฯ อย่าง BBL, KBANK และ KTB เชิง Upside รวม Div yield ต่อปี(Total return) เกิน 10% ถือว่าน่าสนใจ คงชอบ BBL / KTB มากกว่า KBANK นอกจาก Total return สูงกว่า ยังมาจากการลงทุนภาครัฐ ช่วยหนุนการเติบโตของสินเชื่อทั้ง 2 ธนาคาร, การแปลงหนี้ THAI เป็นหุ้น ช่วยยกระดับคุณภาพสินทรัพย์รวมทั้ง Coverage ratio ของทั้ง 2 ธนาคารอยู่ที่ 267% และ 179% มากกว่า KBANK ที่ 139% (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 174%)
รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้
YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial
FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_/
TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news
X คลิก https://twitter.com/thunhoon1
Instagram คลิก https://instagram.com/thunhoon.news?/
เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา อ่านเพิ่มเติม