> SET >

17 มกราคม 2025 เวลา 16:11 น.

คลังคาดธุรกิจไทยราว 100 กลุ่มบริษัทต้องเสียภาษีส่วนเพิ่ม 1.2 หมื่นล้าน เริ่มปี 70

คลังคาดธุรกิจไทยราว 100 กลุ่มบริษัทต้องเสียภาษีส่วนเพิ่มตามกฎหมายเป็นเงินราว 1.2 หมื่นล้าน เริ่มปี 70 ส่วนบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยที่เข้าข่ายเสียภาษีให้ประเทศตนเองมีอยู่ราว 1,100 บริษัท รับกฎหมายนี้กระทบสิทธิประโยชน์ภาษีการลงทุนทั่วโลก


#ทันหุ้น นายภาณุวัฒน์ เหลืองวิไล รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรระบุ มีกลุ่มบริษัทของไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศที่เข้าข่ายเสียภาษีส่วนเพิ่มราว 100 กลุ่มบริษัท โดยกลุ่มบริษัทเหล่านี้ จะมีภาระภาษีที่ต้องเสียเพิ่มรวมประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีผลในปี 2570 ส่วนบริษัทต่างชาติที่ลงทุนในไทยเข้าข่ายเสียภาษีส่วนเพิ่มราว 1,100 บริษัท


สำหรับพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2568 โดยจะมีผลใช้บังคับแก่นิติบุคคลข้ามชาติ (Multinational Enterprises (MNEs)) ขนาดใหญ่ที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2568เป็นต้นไป


“กฎหมายนี้ กระทบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั่วโลก โดยเฉพาะกระทบต่อ Tax holidayฉะนั้น ถ้าธุรกิจใดเสียภาษีจากการลงทุนในต่างประเทศที่ 0% ก็จะต้องเสียภาษีส่วนเพิ่มมากขึ้น”


ทั้งนี้ การตราพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ.2567เป็นผลมาจากการเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2524 ของภาคีสมาชิก OECD/G20 Inclusive Framework on Base Erosion and Proft Shifting (BEPS) ซึ่งมีกว่า 150 เขตเศรษฐกิจรวมถึงประเทศไหย ในแนวทางการจัดการความท้าทายทางภาษีที่เกิดจากเศรษฐกิจดิจิทัล (Two-Pilar Solution to Address the Tax Challenges Arising from the Digitalisation

of the Economy)


โดยในส่วน Pilar 2เป็นการกำหนดให้บริษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises (MNEs))เสียภาษีขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) ในอัตรา 15% ผ่านมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีระหว่างประเทศ (Global Anti-Base Erosion Rules (GloBE Rules)) เพื่อจำกัดการแข่งขันทางภาษี


ปัจจุบันหลายประเทศได้ตรากฎหมายจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Top-up Tax) จากกลุ่ม MNEs ที่เสียภาษีในอัตราต่ำกว่า 15% แล้ว การตราพระระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 จะทำให้เกิดความชัดเจนและความแน่นอนแก่กลุ่ม MNEs ทั้งของไทยและของต่างประเทศ เนื่องจากกลุ่ม MNEs ดังกล่าวจะต้องพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีในทุกประเทศที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ


ทั้งนี้ พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม 2567 จัดทำขึ้นตามตัวแบบ (Model GloBE Rules) คำอธิบาย (Commentary) และแนวปฏิบัติ


(Administrative Guidance) ที่ OECD จัดทำขึ้น การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่มของประเทศไทยจึงเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่มของภาคีสมาชิก อันเป็นการลดภาระการปฏิบัติตามกฎหมายให้แก่กลุ่ม MNEsที่ลงทุนในประเทศไทย


นอกจากนั้น การตราพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567นี้เป็นการรักษาสิทธิเก็บภาษีของประเทศไทยอันเป็นความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากหากประเทศไทยไม่มีกฎหมายจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม ประเทศอื่นที่มีกฎหมายดังกล่าวสามารถจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มแทนประเทศไทย


พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่มดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้ 1.กำหนดให้กลุ่ม MNEs ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่ากลุ่ม MNEs ของไทยที่ลงทุนในต่างประเทศหรือกลุ่ม MNEs ของต่างประเทศที่ลงทุนในประเทศไทยที่มีรายได้ตามงบการเงินรวม(Consolidated Financial Statements) ของบริษัทแม่ลำดับสูงสุดไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโรอย่างน้อย  2 ใน 4 รอบระยะเวลาบัญชีที่พิจารณาหน้าที่การเสียภาษีส่วนเพิ่ม ต้องเสียภาษีในอัตราที่แท้จริง 15%โดยมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2568เป็นต้นไป


2.กำหนดให้มีวิธีการจัดเก็บภาษี 3รูปแบบตาม Model GloBE Rules ได้แก่ (1) ภาษีส่วนเพิ่มภายในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ (Domestic Minimum Top-up Tax (DMTT)) (2) กฎการรวมเงินได้ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  (Income Inclusion Rule (IIR) (3) กฎการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มคงเหลือ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์(Undertaxed Payments Rule (UTPR))


ทั้งนี้ พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 จะทำให้ประเทศไทยไม่ถูกกัดกร่อนฐานภาษีและถ่ายโอนกำไร และจะทำให้ประเทศไทยมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นและสามารถรักษาสิทธิการเก็บภาษีในฐานะประเทศแหล่งเงินได้


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X