> เป้าลงทุน หุ้นคาร์บอนต่ำ > BPP

14 มิถุนายน 2020 เวลา 19:45 น.

จีนนำเข้าลดลงชั่วคราว หลังจากนี้จะเร่งมากขึ้น หยวนแข็งค่านำไปแล้ว

ดุลการค้า พ.ค. 63 ของจีนเป็นบวก 6.29 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเกินดุลจากสหรัฐฯ 2.79 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นจากราว 2.3 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯในเดือน เม.ย. 63) ยอดส่งออก -3.3%YoY ติดลบน้อยกว่าคาดที่ -7% YoY โดยมีแรงหนุนเล็กน้อยจากเงินหยวนที่อ่อนค่า การส่งออกสินค้าเวชภัณฑ์ และความต้องการสินค้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่ ยอดนำเข้าทรุดแรงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันอีก -16.7% YoY แย่กว่าคาดที่ -10% YoY จากการนำเข้าอะลูมีเนียม ทองแดง และถ่านหินที่ลดลง หักล้างกับการนำเข้าสินแร่เหล็กและน้ำมันที่เพิ่มขึ้น


แม้ยอดนำเข้าของจีนที่ทรุดหนักจะเป็นลบต่อประเทศคู่ค้าและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่เราคาดว่าจะเห็นการเร่งตัวหลังจากนี้เพราะ (1) การ Re-stock สินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มอุตสาหกรรม หลังจีนเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ และเน้นกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือน เพื่อให้อุปสงค์ในประเทศไปดึงให้ภาคการผลิตฟื้นตัว ซึ่งสะท้อนมายัง PMI ภาคการผลิตของจีนที่กลับมายืนเหนือ 50 ได้เป็นประเทศแรกในกลุ่ม G20


(2) จีนจะเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อฟื้นฟูประเทศ และสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการจ้างงานในเขตเมืองสำคัญกว่า 9 ล้านตำแหน่ง


(3) แรงกดดันจากสหรัฐฯเพื่อให้บรรลุข้อตกลงเฟส 1 หลังกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ระดับปกติ


(4) การปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าใกล้เคียงค่าเฉลี่ยภูมิภาค โดยเงินหยวนที่ตลาด Onshore แข็งค่า 1% MTD และตลาด Offshore แข็งค่ากว่า 2% MTD เราประเมินว่าการตรึงให้เงินหยวนแข็งค่าระยะนี้ สะท้อนว่าจีนจะเร่งนำเข้าสินค้ามากขึ้น ซึ่งถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อสินค้าโภคภัณฑ์ และบริษัทที่มีธุรกรรมเชื่อมโยงกับจีน


บริษัทในไทยที่มีธุรกรรมเชื่อมโยงกับจีนจะอยู่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี(BPP/ IVL/ PTTGC/ IRPC/ SGP/ EPG) สินค้าเกษตร(CPF/ GFPT/ TFG/ STA/ NER) อาหารและเครื่องดื่ม(CBG/ TKN/ SAPPE) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์(DELTA/ HANA) วัสดุก่อสร้าง (SCC/ TASCO) และโลจิสติกส์(PORT/ JWD/ PSL) โดยตัวที่ยัง Laggard และพอมี Upside ให้เก็งกำไรคือ SCC/ IRPC/ SGP/ CBG/ TKN/ PORT/ JWD/ PSL/ NER


หลังจากนี้มีปัจจัยใดให้ลุ้น และอะไรคือความเสี่ยงที่ต้องระวัง ปัจจัยคาดหวังเชิงบวก (1) การประชุม FOMC ที่อาจกดดันให้ Dollar Index อ่อนตัวลง และหนุนเงินหยวนแข็งค่าต่อเนื่อง และ (2) การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจจีน (ประจำเดือน พ.ค. 63) วันที่ 15 มิ.ย. 63 คาดว่าจะทำให้เห็นภาพการฟื้นตัวของจีนชัดเจนยิ่งขึ้น


ปัจจัยเสียง (1) สหรัฐฯกดดันจีนโดยการล้มดีลการค้าเฟส 1 (2) ประชุม FOMC ไม่มีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม หนุน Dollar Index และกดดันเงินหยวนให้อ่อนค่าเร็ว


บทความโดย ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ 

บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด 


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X