> รู้ทันการลงทุน >

15 มีนาคม 2023 เวลา 06:10 น.

Bond Yield คืออะไรส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยอย่างไร

#ทันหุ้น - ทำไมการขึ้นดอกเบี้ยถึงมีผลต่อเศรษฐกิจโลกหรือการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงรวบรวมคำตอบมาให้แล้ว


Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนจากการถือครองพันธบัตรคือผลตอบแทนที่ผู้ถือครองพันธบัตรจะได้รับในรูปแบบของดอกเบี้ย ซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับต่อปี (%) สำหรับวิธีการคำนวณผลตอบแทนของพันธบัตรทำได้โดย Bond Yield = Coupon Payment หาร Face Value ตัวอย่างเช่น หากคุณลงทุนในพันธบัตรอายุ 10 ปี มีมูลค่าหน้าตั๋วราคา 1,000 บาท (Face Value) และมีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หน้าตั๋วที่ 3% ต่อปี ถ้าหากคุณถือพันธบัตรนี้ครบ 10 ปี คุณจะได้รับผลตอบแทนจากการถือครองพันธบัตร (Coupon Payment) เท่ากับ 1,000 บาท x 3% ต่อปี x 10 ปี หรือคิดเป็น 300 บาท


ความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield และอายุของตราสารเนื่องจากอายุของหน้าตั๋วถือเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ตัดสินใจลงทุนหรือไม่ลงทุนด้วย เพราะนั่นก็คือความถี่ในการที่เราจะได้รับผลตอบแทน ซึ่งโดยทั่วไป พันธบัตรที่มีอายุยาว มักจะมี Bond Yield ที่สูงกว่าพันธบัตรอายุสั้น เนื่องจากยิ่งถือครองนาน ๆ ก็อาจจะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงกว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนั้นและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย


จากความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield และอายุของพันธบัตร จึงเกิดกราฟ Yield Curve หรือเส้นอัตราผลตอบแทน ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield กับอายุของพันธบัตร โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะหลัก ๆ ดังนี้


1. แบบปกติ (Normal Yield Curve) :เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะที่ช่วงเศรษฐกิจกำลังขยายตัว บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาวสูงกว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งเป็นภาวะปกติ


2. แบบลาดลงหรือพลิกคว่ำ (Inverted Yield Curve) : เป็นลักษณะที่พบได้ในช่วงเศรษฐกิจกำลังถดถอย ในช่วงลักษณะนี้ นักลงทุนจะเลือกซื้อพันธบัตรระยะยาวเพื่อความปลอดภัย ราคาของพันธบัตรระยะยาวจึงเพิ่มขึ้น และ Yield ลดลง บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้น


3. แบบแบนราบ (Flat Yield Curve): เป็นลักษณะที่พบได้ในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอน หรือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง Normal Yield Curve และ Inverted Yield Curve บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้นเท่ากับ Yield ของพันธบัตรระยะยาว


4. แบบหลังเขา (Humped Yield Curve) : เป็นลักษณะที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนมากจะพบได้ในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอนบ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะกลางสูงกว่าระยะอื่น ๆ


Bond Yield เกี่ยวข้องกับการขึ้นดอกเบี้ยของ FED อย่างไร

เนื่องจากธนาคารกลางหรือ FED เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงอัตราผลตอบแทนของ Bond Yield มีการเปลี่ยนแปลงอ้างอิงกับดอกเบี้ยนโยบายโดยตรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ ดังนี้

สำหรับนักลงทุน Bond Yield จึงเป็นตัววัดผลกำไรที่จะได้รับจากการลงทุนในพันธบัตร และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในหุ้น อสังหา หรือทองคำที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง หรือในตราสารหนี้หรือพันธบัตรที่เสี่ยงน้อยกว่า นอกจากนี้ Bond Yield ยังเป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่ามีความแข็งแกร่งเพียงใดอีกด้วย


หาก Bond Yield ลดลงและราคาพันธบัตรเพิ่มขึ้นหมายถึง นักลงทุนมีความต้องการซื้อพันธบัตรเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้น จึงมีความต้องการที่จะหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ทำให้อนุมานได้ว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอย


ในทางตรงกันข้าม หาก Bond Yield เพิ่มสูงขึ้นและราคาพันธบัตรลดลงหมายถึง นักลงทุนมีความต้องการซื้อพันธบัตรลดลง เนื่องจากนักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่า ทำให้อนุมานได้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโต แต่ก็ยังเป็นสัญญาณของเงินเฟ้อได้อีกด้วย


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X