> SET > AOT

13 กรกฎาคม 2023 เวลา 08:00 น.

“นิตินัย”สอนมวยการบิน แก้ซัพพลายก่อนบูม

#AOT #ทันหุ้น – อดีตบิ๊ก AOT “นิตินัย” ชูปัญหาหลักฉุดไทยไปไม่ถึง “ฮับการบินโลก” คือ ซัพพลายไม่พอ แนะคณะเปลี่ยนผ่านรัฐบาลแก้ปัญหาซัพพลายก่อนกระตุ้นดีมานด์ ส่วนการจะปรับลดต้นทุนผู้ประกอบการสายการบินต้องรอบคอบ เชื่อรัฐบาลใหม่จะศึกษาข้อมูลรอบด้านก่อนพิจารณาดำเนินการด้านใด ด้านหนึ่ง


ดร.นิตินัย  ศิริสมรรถการ  อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT กล่าวแสดงทรรศนะต่อการที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะเปลี่ยนผ่านรัฐบาล เตรียมศึกษาแนวทางการปรับลดต้นทุนทั้งระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน (Airlines Ecosystem) ควบคู่เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมการบิน เพื่อให้ประเทศไทยกลับไปเป็นศูนย์กลางการบิน (HUB) โลก ใน 2 กรณี ดังนี้


การที่คณะเปลี่ยนผ่านรัฐบาลต้องการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (HUB) โลกนั้นสิ่งที่น่ากังวลนั้นอยู่ที่ห่วงโซ่อุปทานด้านกำลังการผลิตของไทย (The concern lies in the supply side.) อาทิ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าอากาศยาน เช่น สายพานลำเลียงกระเป๋า, หลุมจอดอากาศยาน, งานบริการภายใน, ระบบสาธารณูปโภค น้ำ, ไฟฟ้า, ระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ ดังนั้นควรเพิ่มศักยภาพของท่าอากาศยาน เร่งวางระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ให้เรียบร้อยเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินโครงการเมืองการบิน สนามบินอู่ตะเภารองรับชาวต่างชาติ และอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE)


“หากจะให้ไทยเป็นฮับตามที่ทุกคนอยากจะผลักดันกันมานานมากแล้ว ต้องตีโจทย์ให้แตกนะครับว่า ปัญหาที่แท้จริงของแต่ละเหตุคืออะไร เช่น ไม่สร้างส่วนต่อขยายสนามบิน เปิดใช้บริการ SAT1 เมื่อสายการบิน บินเข้ามานักท่องเที่ยวก็ต้องเสียเวลายืนรอโหลดกระเป๋าเป็นชั่วโมงเพราะสายพานมีเท่าเดิม หรือแม้แต่ CAATจะให้สล๊อตก็ให้ไม่ได้เพราะไม่มีหลุมจอดให้เครื่องบิน เช่นเดียวกันพื้นที่ EECวางระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ สร้างสนามบินอู่ตะเภาชาวต่างชาติบินเข้ามาก็ไม่มีที่พัก เพราะเอกชนสร้างโรงแรมไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะลงไป Incentiveควรแก้ปัญหาหลักให้จบก่อน”


@ค่าบริการตามเกณฑ์


ส่วนการจะพิจารณาปรับลดต้นทุนทั้งระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน (Airlines Ecosystem) อาทิ ค่าบริการสนามบิน (Landing and Parking Charges) ว่า การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสนามบินของทุกสนามบินทั่วโลก ได้คำนวนตามหลักเกณฑ์ที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ International Civil Aviation Organization : ICAO และองค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization :  WHO ร่วมกันกำหนด หากจะปรับค่าธรรมเนียมสนามบิน อาจต้องเจรจากับ ICAO ให้ยกเว้นหลักเกณฑ์สำหรับประเทศไทยเป็นการเฉพาะ


“หากไม่แก้ปัญหา Supply-Side แต่ไปกระตุ้น Demand ให้เร่งตัวขึ้น ปัญหาที่จะตามมาก็คือความต้องการเดินทางที่มากกว่าสายการบินที่จะบินเข้ามาไทยได้ ราคาตั๋วโดยสารก็จะแพงต่อเนื่อง ส่วนการจะไปเจรจากับ ICAO นั้น ICAO มี 2 บทบาท คือ ดำรงกฎเกณฑ์ และกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นในไทยจึงมีสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ The Civil Aviation Authority of Thailand : CAAT ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ดำรงกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การที่ผู้ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ รับฟังปัญหาต่างๆ เพื่อเตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องปกติ แต่ ณ เวลาที่จะต้องตัดสินใจแก้ปัญหา “ทั้งระบบ” เชื่อว่าท่านจะศึกษาอย่างรอบด้าน และตัดสินใจแก้ปัญหาได้ตรงจุด”


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X