> SET >

21 ธันวาคม 2023 เวลา 19:03 น.

บริษัทซื้อหุ้นคืน กำไร-ขาดทุน ลงบัญชีอย่างไร?

#การซื้อหุ้นคืน #ทันหุ้น - เฟสบุ๊ก “CPA Solution” เผยแพร่ข้อมูลในหัวข้อ “กิจการจะลงบัญชีหุ้นสามัญซื้อคืนอย่างไร?” ระบุว่า...

ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นตกหนักมาก จึงมีบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งคงรู้สึกว่าราคาตลาดถูกเกินไป จึงมีแผนซื้อหุ้นตัวเองคืน ซึ่งประโยชน์ประการสำคัญคือทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับมูลค่าที่แท้จริง

แล้วเราจะบันทึกบัญชีอย่างไร?

แนวปฏิบัติของสภาวิชาชีพชุดนี้จะระบุแนวทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นทุนซื้อคืนในหลายๆ กรณี ซึ่งในที่นี้ผมขออธิบายกรณีที่พบเห็นได้บ่อย คือซื้อหุ้นคืนมาแล้วต่อมาขายออก แต่เนื่องจากมันเป็นธุรกรรม “ที่ทำกับผู้เป็นเจ้าของ” หากมีส่วนต่างราคาทุนกับราคาขาย +++ กิจการห้ามนำผลต่างนั้นเข้า P/L นะครับ +++ ให้นำไปใส่ไว้ในส่วนเกินมูลค่าหุ้นแทน

ตัวอย่าง สมมติบริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ซื้อหุ้นทุนคืนจากตลาดหลักทรัพย์ 1 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท (ราคา par 1 บาท) แล้วต่อมาขายหุ้นนั้นคืนออกไปในราคา 15 บาท บริษัท ก. จะบันทึกบัญชีอย่างไร?

+++วันที่ซื้อหุ้นคืน+++

เดบิต หุ้นสามัญซื้อคืน 10 ล้านบาท

เครดิต เงินสด 10 ล้านบาท

+++วันที่ขายออก+++

เดบิต เงินสด 15 ล้านบาท

เครดิต หุ้นสามัญซื้อคืน 10 ล้านบาท

เครดิต ส่วนเกินมูลค่า - หุ้นสามัญซื้อคืน 5 ล้านบาท

ซึ่งในแนวปฏิบัติของสภาวิชาชีพยังมีตัวอย่างอีกหลายๆ กรณี ได้แก่

• การขายหุ้นสามัญซื้อคืนในราคาต่ำกว่าทุน

• การยกเลิกหุ้นสามัญซื้อคืนเพื่อลดทุน

• การตัดรายการในกระดาษทำการงบการเงินรวม กรณีที่ย่อยซื้อหุ้นทุนของใหญ่ (constructive retirement treasury stock)

• การเปิดเผยข้อมูลหุ้นทุนซื้อคืน

...

เว็บไซต์ http://demo.msgconsultant.com/  ตอบคำถามโดย “นายภาษี” กรณีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อหุ้นคืนจากตลาด จะบันทึกบัญชีกันอย่างไร?

คำตอบ - ประเด็นตามคำถาม ขอให้ข้อคิดเห็นเพื่อให้ท่านนำไปพิจารณาเปรียบเทียบข้อเท็จจริงทางธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม โดยมีรายละเอียดดังนี้

หุ้นทุนซื้อคืน (Treasury Stock) คือ หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อคืนกลับมาภายหลังจากออกจำหน่ายและจ่ายชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้ว ซึ่งสามารถจะซื้อคืนได้หากบริษัทมีสภาพคล่องส่วนเกินและมีกำไรสะสม รวมถึงการซื้อคืนจะไม่ทำให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน

การซื้อหุ้นคืนมีเหตุผลหลายประการ ดังนี้

1. เพื่อซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

2. เพื่อเพิ่มกำไรต่อหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน โดยการลดจำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้นลง หรือลดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น

3. เพื่อนำมาให้แก่พนักงานเป็นค่าตอบแทนสำหรับการปฏิบัติงาน หรือเพื่อเตรียมไว้สำหรับการควบรวมกิจการ

4. เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาควบคุมหรือมีอิทธิพลอย่างมีสาระสำคัญในบริษัท

5. เพื่อสร้างราคาหุ้นของตลาดหรือเพื่อเพิ่มราคาหุ้น

ประเด็นที่หลายคนสงสัยว่า เมื่อบริษัทซื้อหุ้นตัวเองคืนแล้วจะมีผลกระทบอย่างไร แล้วเมื่อซื้อไปแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อ การซื้อหุ้นคืนจะมีผลกระทบต่องบการเงินดังนี้

1. หุ้นทุนซื้อคืนไม่ใช่สินทรัพย์ของกิจการ แต่จะแสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงิน

2. หุ้นทุนซื้อคืน ไม่มีสิทธิออกเสียง ไม่มีสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่ ไม่มีสิทธิรับเงินปันผล และไม่มีสิทธิในทรัพย์สินเมื่อชำระบัญชี

3. หุ้นทุนซื้อคืน ไม่มีผลต่อกำไรขาดทุนในงบกำไรขาดทุน

4. หุ้นทุนซื้อคืน อาจจะมีผลทำให้กำไรสะสมของกิจการลดลง แต่จะไม่ทำให้กำไรสะสมของกิจการเพิ่มขึ้น

5. ส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจะไม่ถูกกระทบ แต่ส่วนประกอบของผู้ถือหุ้นจะเปลี่ยนแปลงไป

การซื้อหุ้นทุนคืนจะกระทบต่อการบันทึกบัญชี ดังนี้

- วันที่ซื้อหุ้นทุนซื้อคืน กิจการจะได้รับหุ้นสามัญของตัวเองกลับมา จะบันทึกบัญชีในชื่อบัญชี “หุ้นทุนซื้อคืน” โดยบัญชีนี้จะอยู่ใน หมวดส่วนของผู้ถือหุ้น

- วันที่ขายหุ้นทุนซื้อคืน จะปรับปรุงลดยอดบัญชี “หุ้นทุนซื้อคืน”ตามจำนวนที่ขายออกไป ดังนี้

- ไม่มีกำไรหรือขาดทุนจากการขาย จะบันทึกบัญชีลดยอด “หุ้นทุนซื้อคืน”ในหมวดส่วนของผู้ถือหุ้น

- กำไรจากการขายหุ้นทุนซื้อคืน จะบันทึกบัญชีในชื่อบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการซื้อหุ้นทุนคืน”ในหมวดส่วนของผู้ถือหุ้น

- ขาดทุนจากการขายหุ้นทุนซื้อคืน จะบันทึกบัญชีลดยอด “ส่วนเกินทุนจากการซื้อหุ้นทุนคืน”ในหมวดส่วนของผู้ถือหุ้น กรณีที่มียอดคงเหลือในบัญชีนี้ แต่หากไม่มีจะบันทึกลดยอดในชื่อบัญชี “กำไรสะสม”

หากพิจารณาจากวิธีการบันทึกบัญชีที่ระบุข้างต้น จะพบว่าจะไม่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในปีที่มีการซื้อคืน แต่อาจจะกระทบกับการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินเช่น ROE, EPS เนื่องจากจำนวนหุ้นที่อยู่ในมือของบุคคลภายนอกลด

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ขอยกตัวอย่างว่า บริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยจำหน่ายในราคาหุ้นละ 100 บาท กำไรสะสมจำนวน 500,000 บาทโดยในเดือน มี.ค. X1 กิจการซื้อหุ้นทุนคืนจำนวน 11,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 110 บาท จะมีผลกระทบดังนี้

ประเด็นถัดมาคือ ซื้อมาแล้วบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร ตอบได้ว่ามี 2 แนวทางคือ ลดทุนจดทะเบียน หรือขายหุ้นออกไปให้กับบุคคลภายนอก ซึ่งจะอธิบายแยกเป็น 2 กรณีจะได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดังนี้

1. กรณีลดทุนจดทะเบียน

หากบริษัทไม่สามารถขายหุ้นได้ภายในเวลาที่กำหนด จะต้องลดทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วลงโดยวิธีการตัดหุ้นส่วนที่จำหน่ายไม่ได้

2. กรณีขายหุ้นทุนซื้อคืน

การขายหุ้นทุนซื้อคืนในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อคืนกลับมา หากราคาขายสูงกว่าราคาซื้อคืนจะนำไปบันทึกบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้น ในชื่อบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการซื้อหุ้นทุนคืน” แต่หากราคาขายต่ำกว่าราคาซื้อคืน จะนำไปบันทึกในชื่อบัญชี “กำไรสะสม” โดยลดยอดกำไรสะสมในปีที่ขายหุ้น

ตัวอย่าง ในเดือน พ.ค. X1 กิจการขายหุ้นทุนคืนจำนวน 5,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 120 บาท จะมีผลกระทบดังนี้

ตัวอย่าง ต่อมาในเดือน พ.ย. X1 กิจการขายหุ้นทุนคืนจำนวน 5,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 80 บาท จะมีผลกระทบดังนี้

เบื้องต้นขออธิบายภาพให้เข้าใจผลกระทบที่จะมีต่องบการเงินเพียงเท่านี้ก่อน ยังไม่อยากลงรายละเอียดทางบัญชีให้มากเกินไป เพราะจะใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่มีโอกาสจะหยิบมาขยายความต่อให้ทราบในครั้งต่อ ๆ ไป




รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X