> เคล็ดลับลงทุน >

22 พฤษภาคม 2023 เวลา 19:13 น.

Stay invested: ปัญหาเพดานหนี้สาธารณะรัฐบาลสหรัฐฯ!

#Investment-Focus by KTAM  #ทันหุ้น ก่อนปี พ.ศ. 2460 สหรัฐอเมริกาไม่มีการกำหนดเพดานหนี้ โดยสภาคองเกรสอาจอนุมัติเงินกู้เฉพาะหรืออนุญาตให้กระทรวงการคลังออกตราสารหนี้บางประเภทเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ บางครั้งสภาคองเกรสให้กระทรวงการคลังพิจารณาเองและสามารถออกตราสารหนี้ต่าง ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้ก่อภาระผูกผันการก่อหนี้เพิ่มขึ้น


จนต่อมา ในปี พ.ศ. 2460 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 สภาคองเกรสได้เริ่มที่จะกำหนดเพดานหนี้ขึ้นมา ซึ่งอนุญาตให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรและรับภาระหนี้อื่น ๆ โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาเป็นการเฉพาะ ตราบใดที่หนี้ทั้งหมดตกอยู่ภายใต้หนี้ตามกฎหมาย เพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้


การขอเพิ่มหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ มาตลอดในรอบกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

โดยเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ นี้มีการแก้ไขของเพิ่มเพดานการก่อหนี้นี้ได้ ซึ่งจะต้องขอแก้ไขโดยผ่านรัฐสภา โดยตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2460 หรือ เกือบ 100 ปีที่ผ่านมา มีการขอเพิ่มมาแล้วมามากกว่า 90ครั้ง


“ในตลอด 100 ปีที่ผ่านมาเพดานหนี้ ไม่เคยลดลง แม้ว่าหนี้สาธารณะเองอาจจะลดลงก็ตาม”


  • วิกฤตเพดานหนี้ที่สำคัญที่ผ่านมา

วิกฤตเพดานหนี้ ปี2554

พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาล่าง ส่วนเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาสูง ทำให้เกิดการต่อรองกันจนถึงวันที่กระทรวงการคลังคาดว่ามาตรการพิเศษจะถูกใช้หมด และจะใช้ Cash Balance ชำระภาระหนี้จ่อไปได้อีกแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น จนตกลงกันได้ แต่ผลตามมาจากเหตุการณ์ครั้งนั้นคือ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ ลงจาก AAA เหลือ AA+


และการปรับลดอันดับเครดิตและการลดเพดานหนี้ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 2,000 จุดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม หลังจากการปรับลดอันดับ และมีหนึ่งวันที่เป็นวันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่เกิดเหตุการณ์ดัชนีปรับตัวลบลงถึง 635 จุดในวันที่ 8 สิงหาคม


วิกฤตเพดานหนี้ ปี2556

พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาล่าง และเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาสูง ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงด้านงบประมาณปี 2014 ได้ทัน ทำให้ต้องยุติการจ่ายเงินงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ชั่วคราว (Government Shutdown)


สมาชิกของพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสคัดค้านการเพิ่มเพดานหนี้ โดยมีการต่อรองกันในเงื่อนไขการปรับลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือให้ยกเลิกในนโยบายObamacare ผลในครั้งนั้นส่งผลให้มีพนักงานภาครัฐถูกพักงานชั่วคราวมากถึง 800,000 คน ทำให้ต้องมีการงดให้บริการเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เต็ม ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีการประมาณการไว้ถึงหนึ่งร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ


ผลของการล่าช้าในการจัดการปัญหาเพดาหนี้ที่ผ่านมา มีการประเมินว่าความล่าช้าในการเพิ่มเพดานหนี้ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2554 และตั้งข้อสังเกตว่า ความล่าช้าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป และความล่าช้าทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้น 18.9 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา


แลกด้วยข้อต่อรอง

เพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน เดือนมิถุนายน 2566 ก็คงจะเป็นอีกครั้งที่จะต้องเกิดการต่อรองกันอย่างมาก และก็จะยังคงไม่ใช้ครั้งสุดท้ายในการเพิ่มเพดาหนี้ของสหรัฐฯ 


ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างล้วนแล้วมองว่า การขอเพิ่มเพดานหนี้ครั้งนี้ก็จะสามารถผ่านไปได้ แต่จะแลกมาด้วยความบอบช้ำในด้านนโยบาย การตัดลดงบส่วนใดที่จะไปกระทบต่อเศรษฐกิจ หรือการถูกประวิงเวลา จนให้เกิดผลกระทบทางอ้อมของต้นทุนทางด้านดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้น หรือผลกระทบส่งไปที่ตลาดเงิน ตลาดทุน เหมือนในปี 2554 และ 2556 อย่างเลี่ยงไม่ได้


ซึ่งอาจจะส่งให้เกิดความเสี่ยงและความผันผวนของตลาดการลงทุนทั้งก่อนและหลังอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ที่กำลังถึงนี้จะต้องเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างหนีไม่พ้น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดที่เคยเกิดผลกับตลาดหุ้นสหรัฐ คือในปี 2554 ที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงกว่า 11% ในการถูกปรับลดเครดิตเรติ้งของสหรัฐฯ


ในรอบนี้ก็ยังเชื่อว่าจะผ่านไปได้แบบต้องแลกมาด้วยผลประโยชน์ทางการเมืองภายในของสหรัฐฯ เองอย่างหนีไม่พ้น แต่จังหวะดังกล่าวจะเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่จะเริ่มมองหาการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพในระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่อยู่ในระดับสูง ณ ปัจจุบัน 


หรือเป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มหาตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชียในสกุลท้องถิ่นที่จะช่วยให้เราสามารถล็อกผลตอบแทน ดอกเบี้ยในระยะยาวได้อย่างน่าสนใจจากที่นักลงทุนไทยส่วนมากลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ลงมาตลาด 2-3 ปีที่ผ่านมา


คอลัมน์: Investment-Focus by KTAM

โดย:ชัชพล สีวลีพันธ์
 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บลจ. กรุงไทย

เพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไร?

รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

Instagram คลิก https://instagram.com/thunhoon.news?igshid=YTY2NzY3YTc=

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X